เผยแพร่การจัดกระบวนการถอดบทเรียนโครงงานสุขภาพ นำเข้าเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2564 โดย นางสาวเยาวเรศ เสนากิจ อ่าน [19]
 | ชื่อโครงงาน : การแปรรูปสมุนไพรจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยสู่วัยใสสุขภาพดี ผ่านการถอด
บทเรียน 2: 3 : 4
ครูที่ปรึกษา : นางสาวเยาวเรศ เสนากิจ และ นายเทพนิมิต พินิจนึก
สถานศึกษา : โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม ตำบลผาเสวย อําเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
การดําเนินงานโครงงานสุขภาพ เรื่อง การแปรรูปสมุนไพรจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยสู่วัยใส
สุขภาพดี ผ่านการถอดบทเรียน 2: 3 : 4 โดยมีวัตถุประสงคเพื่อ 1) เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพ สุขภาพทางจิตใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคมโดยใช้กิจกรรมแปรรูปสมุนไพร ผ่านการถอดบทเรียน 2 : 3 : 4 2) ประเมินสุขภาพทางจิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม หลังการเข้าร่วมกิจกรรมแปรรูปสมุนไพร 3) ประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม 4) ให้นักเรียนมีเครือข่ายในการเรียนรู้และทำกิจกรรมการแปรรูปสมุนไพร โดยประเมินผล จากการตอบแบบสัมภาษณ์ดัชนีวัดสุขภาพจิต และสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์จากการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน พบว่า
1. การเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพ สุขภาพทางจิตใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคมโดยใช้กิจกรรมแปรรูปสมุนไพร ผ่านการถอดบทเรียน 2 : 3 : 4 นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการเรียนรู้การแปรรูปสมุนไพร ได้แก่ ลูกประคบสมุนไพร ยาหม่องไพล และน้ำมันไพล นำมาถอดบทเรียน ด้วยกระบวนการ 2 : 3 : 4 คือ 2 เงือนไข 3 หลักการ 4 มิติ ซึ่ง 2 เงื่อนไขคือความรู้ที่ใช้ในการทำกิจกรรมการแปรรูปสมุนไพร เป็นข้อมูลที่นักเรียนได้เรียนรู้ เงื่อนไขคุณธรรมคือการนำคุณธรรมมาปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ เช่น การมีวินัย ความสามัคคี ความอดทน โดยมี 3 หลักการ เป็นกระบวนการในการทำงาน โดยมีความพอประมาณ ในเรื่องของสิ่งของวัสดุอุปกรณ์ เวลา สถานที่ การมีเหตุผลเป็นหลักการทำงานโดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องของกิจกรรม และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี นักเรียนรู้จักการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนในการทำงานเพื่อป้องกันความล้มเหลวของงาน และ 4 มิติ คือผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่นักเรียนได้รับ ได้แก่ มิติวัตถุ เช่น ผลิตภัณฑ์หรือรายได้จากการทำกิจกรรม คือ ลูกประคบสมุนไพร ยาหม่องไพล น้ำมันไพล และรายได้เสริม มิติสังคม คือการทำกิจกรรมสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างไร เอื้อประโยชน์ใดสู่สังคมและผู้อื่น เช่นการนำยาหม่องไพลไปแจกให้กับผู้สูงอายุในชุมชน และตามงานต่าง ๆ มิติสิ่งแวดล้อม เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างไร สิ่งผลอะไรต่อรอบข้าง เช่นนำเศษขยะที่เกิดจากสมุนไพรนำมาทำปุ๋ย และมิติวัฒนธรรม เป็นการ สืบสาน สานต่องานต่อๆให้ยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมการแปรรูปสมุนไพรนี้ โดยคณะผู้จัดทำได้เป็นสมาชิกรุ่นที่ 2
2. ผลประเมินสุขภาพทางจิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม
หลังการเข้าร่วมกิจกรรมแปรรูปสมุนไพร แล้วนำมาถอดบทเรียนด้วยกระบวนการ 2 : 3 : 4 แล้วให้นักเรียนทำแบบสัมภาษณ์ดัชนีวัดสุขภาพจิตของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย พบว่า นักเรียนร้อยละ 100 มีคะแนนการแปลผลดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตมากกว่า 44 คะแนนขึ้นไป เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านกอก
วิทยาคม หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการแปรรูปสมุนไพรของโครงงานสุขภาพ แล้วนำมาถอดบทเรียนด้วยกระบวนการ 2 : 3 : 4 ผลจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการแปรรูปสมุนไพรและการถอดบทเรียน พบว่า นักเรียนร้อยละ 100 ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการแปรรูปสมุนไพร มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ใน ระดับดี ขึ้นไปซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. นักเรียนมีเครือข่ายในการเรียนรู้และทำกิจกรรมการแปรรูปสมุนไพร
จาการทำกิจกรรมการแปรรูปสมุนไพรของโครงงานสุขภาพ นักเรียนมีแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายในการแปรรูปสมุนไพร และการประกอบอาชีพสุจริต ดังนี้
4.1 โครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริเทือกเขาภูพาน จังหวัดกาฬสินธุ์
4.2 สภาเด็กและเยาวชนตำบลผาเสวย
4.3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกอก
4.4 ปราชญ์ชุมชน / วิทยากรในท้องถิ่น
.....
|