การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
นำเข้าเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2562 โดย นางรัชนี สุขสวัสดิ์
อ่าน [58592]  

......

 

หัวข้องานวิจัย  การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๓  ปีการศึกษา ๒๕๖๑

ผู้วิจัย             นางรัชนี  สุขสวัสดิ์  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

ปี พ.ศ.           ๒๕๖๒

 

บทคัดย่อ

 

การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  ประเทศไทย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๓  ปีการศึกษา ๒๕๖๑  มีวัตถุประสงค์ ๑)  เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  ชั้นอนุบาล ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๑  ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  ประเทศไทย  ๒)  เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ๓  ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  ประเทศไทย ของกลุ่มทดลอง  และกลุ่มควบคุม ประชากรในการวิจัย  ได้แก่ เด็กปฐมวัย

ชั้นอนุบาล ๒ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ๓  ปีการศึกษา ๒๕๖๑  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๓  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย  ใช้การสุ่มอย่างง่ายโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จำนวน  ๑๐  โรงเรียน  ตัวแทนกลุ่มสถานศึกษาละ ๑  โรงเรียน ได้แก่  ๑) เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ๒  โรงเรียนละ ๑๐  คน  รวมจำนวน  ๑๐๐  คน 

๒) เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ๓  โรงเรียนละ ๒๐ คน  แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม ๑๐๐ คน  กลุ่มทดลอง  ๑๐๐ คน 

รวมจำนวน ๒๐๐ คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  เป็นแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  ความถี่  ค่าเฉลี่ย ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และการทดสอบค่าที (t-test)

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ๒  ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ก่อนและหลังการทำกิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  ประเทศไทย  โดยรวมและรายด้าน ๓ ด้าน  คือ  ด้านการสังเกต  ด้านการจำแนก  และด้านการวัด  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

๒. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ๓  ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ก่อนและหลังการทำกิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  ประเทศไทย ของกลุ่มทดลอง  และกลุ่มควบคุม โดยรวมและรายด้าน ๓ ด้าน  คือ  ด้านการสังเกต  ด้านการจำแนก  และด้านการวัด  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

 

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้