การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศ
นำเข้าเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2562 โดย จิณัฐตา วรรณเกษม
อ่าน [58551]  

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น และศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น สําหรับครูที่สอนสาระวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีวิธีดําเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานประกอบการพัฒนาหลักสูตร 2) การออกแบบและสร้างหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตร และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร การดําเนินการใน 2 ขั้นตอนแรก สร้างและพัฒนาหลักสูตรสําหรับผึกอบรมและคู่มือการใช้หลักสูตรที่ผ่านการพิจารณาด้านความเหมาะสมและความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พบว่า หลักสูตรมีองค์ประกอบที่เหมาะสมและสอดคล้องกัน โดยหลักสูตรที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้ว นําไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างครูวิทยาศาสตร์ที่สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 มี 2 ขั้นตอน คือ ที่สมัครใจเข้ารับการอบรม ใช้ระยะเวลาฝึกอบรม 3 วัน และทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียน 10 โรง จำนวน 213 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เวลา 1 ภาคเรียน (40 ชั่วโมง) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลักสูตรฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.12 ,S.D = 5.15 ) 2. ความรู้ความคิดเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมวิทยาศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลังการเข้ารับการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้และประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น มีคะแนนรวม ร้อยละ 90.01 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 4. ความคิดเห็นของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมมากที่สุด 5. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ทั้ง 10 โรง ที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับดี 7. หลักสูตรฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ปรับปรุงแก้ไขสาระสำคัญและกิจกรรม ในแผนการอบรมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ใช้ภาษาเขียนให้สามารถสื่อสารเข้าใจง่ายขึ้น ปรับเวลาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและมีความชัดเจนยิ่งขึ้น .....

 บทคัดย่อ

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้