คาถาแคล้วคลาด
นำเข้าเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2561 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58646]  

.....

ความเหนื่อยล้า การพักผ่อนไม่เพียงพอ คนที่ต้องขับรถยาวนานหลายชั่วโมง เรื่องของจุดเสี่ยง ความไม่ชินทาง ยิ่งในวันงานสงกรานต์ 13 เม.ย. และหลังงาน เสร็จสิ้นลงจะเห็นชัด คือคนส่วนใหญ่จะสนุกมาเต็มที่ ลืมอย่างอื่นที่สำคัญกว่านั่นคือ สติและวินัยจราจร”

"สถิติจะพุ่งพรวดโดยเฉพาะสามวันตรงกลางของวันหยุด ราวๆ 13-14-15 รถมอเตอร์ไซค์จะเป็นแชมป์เกิดอุบัติเหตุทุกปี ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากการไม่สวมหมวกกันน็อก บางรายก็ศีรษะกระแทกจนเสียชีวิต แล้วก็ยังมีเมาทะเลาะวิวาท ตีกัน ยิงกัน คนตกน้ำ พวกที่ป่วยฉับพลัน ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ กระเพาะทะลุ ดื่มหนักแล้วหัวใจวาย ช็อค อาการทุกรูปแบบ ไหลเข้ามาพร้อมกัน

ถ้าเป็นโรงพยาบาลชุมชน หมอเวรมีคนเดียว เคยมีเคสคนไข้อุบัติเหตุหมู่ที่ต้องปั๊มหัวใจพร้อมกัน 5 ราย พยาบาลเรียนมาตามมาตรฐานวิชาชีพเขาจะไม่ให้เราเป็นคนใส่ท่อหายใจ เราต้องโดดจากเตียงหนึ่งไปอีกเตียงหนึ่งเพื่อปั๊มหัวใจรอหมอมาใส่ท่อ แถมห้องคลอดก็เรียกแล้ว ต้องวิ่งไปช่วยรับเด็ก ไหนจะคนไข้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ลูกหลานเขากลับมาเยี่ยมบ้านวันสงกรานต์ คนไหนเจ็บป่วยอะไรก็เป็นโอกาสได้พามาโรงพยาบาลพร้อมหน้ากันในช่วงนั้น

อย่าถามว่าได้นอนกันมั้ย ปกติเราเข้าเวรทีละ 8 ชั่วโมง พอช่วงยุ่งๆ ควบสองกะกลายเป็น 16 ชั่วโมง ทีนี้มันต้องมีทีมที่ออกไปตระเวนช่วยคนข้างนอก พวกข้างในก็แตะมือกันอยู่เพราะคนไม่พอ เราจะหลับก็เห็นเพื่อนทำไม่ทันก็ต้องลุกมาช่วย กลิ่นคาวเลือดมันคลุ้งไปหมดนะช่วงวันสงกรานต์

บางคนไข้อุบัติเหตุที่หัวแตกเข้ามาเลือดออก เขาเห็นตัวเองเลือดออกก็โวยวายว่าเราไม่รีบช่วยเขา ไม่ได้รู้เลยว่าเราดูแลคนไข้ที่หัวใจขาดเลือดอีกคน ที่ไม่เห็นเลือดแต่ตกอยู่ในภาวะคุกคามมากกว่า ยิ่งถ้าดื่มกันมาจะยิ่งใช้อารมณ์ ทำให้บรรยากาศในโรงพยาบาลช่วงสงกรานต์เป็นอะไรที่หนักหนาสาหัสมาก”

หากต้องรับมือกับการจัดหนักในช่วงเทศกาลหยุดยาวแบบนี้คงไม่ไหว จึงเริ่มทำงานรณรงค์ลดอุบัติเหตุร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ที่ช่วยให้เราทำงานแบบสร้างองค์ความรู้ร่วมกับภาคีเครือข่าย และได้ประสานงานหลายภาคส่วน เช่น ตำรวจตั้งด่านตรวจ ส่วนท้องถิ่นก็ดูแลเรื่องถนนหนทาง สาธารณสุขก็เตรียมรับมือปัญหาเรื่องการแพทย์ มีการทำงานเชิงรุกคือออกไปแก้ไขจุดเสี่ยง ก่อนที่จะเกิดเหตุ การออกสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นตัวและตระหนักถึงภัยของอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล ช่วยเป็นแรงใจและสร้างพลังขับเคลื่อนกลไกการทำงานในพื้นที่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลได้ดียิ่งขึ้น

ทุกวันนี้การทำงานเชิงรุกจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทำยังไงให้คนตระหนักถึงความสำคัญของการใช้รถใช้ถนนอย่างไม่ประมาท แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องทำงานกับชุมชน สร้างทัศนคติให้กับชาวบ้านและปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องให้เด็กรุ่นใหม่ วันก่อนครูซึ่งเป็นคนที่ชุมชนนับหน้าถือตา แกขี่มอเตอร์ไซค์ไปธุระแล้วประสบเหตุเสียชีวิตหน้าโรงเรียนเลย ทำให้คนทั้งชุมชนและโรงเรียนเองก็ตื่นตัวเรื่องนี้มากขึ้น หันมารณรงค์มาตรการความปลอดภัย ตำรวจก็เข้าไปสอนกฎจราจร ทีมกู้ชีพก็ลงไปสอนการปั๊มหัวใจ และเด็กๆ เขาก็รักครูเขาก็เลยกลายเป็นตัวตั้งตัวตีบอกพ่อแม่ให้สวมหมวกกันน็อกทุกครั้งที่ขี่มอเตอร์ไซค์”

 

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้