“ชินคันเซ็น” จาก 300 กม
นำเข้าเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2561 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58555]  

สื่อมวลชนญี่ปุ่นรายงานว่า รัฐบาลไทยเสนอลดความเร็วของรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยี “ชินคันเซ็น” จาก 300 กม.ต่อชั่วโมง เหลือ 180-200 กม.ต่อชั่วโมง เพื่อลดต้นทุนค่าดำเนินการ หนังสือพิมพ์นิกเคอิของญี่ปุ่นรายงานอ้างอิงจากแหล่งข่าวในรัฐบาลไทยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเกี่ยวกับการลดความเร็วของรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ หลังจากฝ่ายญี่ปุ่นส่งมอบรายงานต่อรัฐบาลไทยคำนวณค่าใช้จ่ายในโครงการนี้ว่าอยู่ที่ราว 420,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลไทยมองว่าสูงเกินไป.....

สื่อมวลชนญี่ปุ่นระบุว่า ท่าทีของรัฐบาลไทยสร้างความแปลกใจให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งใช้เวลาถึง 3 ปี ในการทำงานกับเจ้าหน้าที่และวิศวกรของไทยเพื่อหวังจะแนะนำเทคโนโลยี “ชินคันเซ็น” (shinkansen) ไปทั่วโลก โดยหากลดความเร็วลงก็จะผิดไปจากความมุ่งหมายของฝ่ายญี่ปุ่น เพราะจะไม่ใช่สุดยอดเทคโนโลยีอีก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมต.คมนาคม รับมอบข้อเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงจากนายทาคาโอะ มะกิโนะ รมต.คมนาคมญี่ปุ่น นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมต.คมนาคม รับมอบข้อเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงจากนายทาคาโอะ มะกิโนะ รมต.คมนาคมญี่ปุ่น การลดความเร็วของรถไฟจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ เช่น การสร้างแผงกั้นเสียง แต่ต้นทุนที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างรางใหม่ 670 กม. จะไม่แตกต่างกันมากไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูงหรือความเร็วปานกลาง แต่รถไฟที่ช้าลงจะทำให้เสียโอกาสในการแข่งขัน เพราะผู้โดยสารจะหันไปใช้บริการเครื่องบินแทน ประสบการณ์ของญี่ปุ่นที่ให้บริการรถไฟหัวกระสุนมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ระบุว่า รถไฟความเร็วสูงจะสูญเสียลูกค้าให้กับเครื่องบินหากต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่า 3 ชั่วโมง โดยหากใช้ความเร็วที่ 300 กม.ต่อชั่วโมง เส้นทางจากกรุงเทพถึงเชียงใหม่ก็ยังต้องใช้เวลาเดินทางราว 3 ชั่วโมงครึ่ง ผู้โดยสารจำนวนมากจึงอาจเลือกใช้บริการสายการบินโลว์คอสต์แทนหากต้องใช้เวลาเดินทางนานขึ้น รัฐบาลไทยประเมินค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ไว้ที่ 1,200 บาท ซึ่งถูกกว่าค่าโดยสารรถไฟชินคันเซ็นราว 1 ใน 3 ในระยะทางเท่ากัน เนื่องจากค่าครองชีพที่ต่างกันของสองประเทศ นอกจากข้อเสนอลดความเร็วเพื่อลดต้นทุนแล้ว รัฐบาลไทยยังต้องการให้ฝ่ายญี่ปุ่นร่วมลงทุนในโครงการนี้ เพื่อเป็นหลักประกันในระยะยาว และลดความเสี่ยงจากการที่ฝ่ายไทยไม่มีประสบการณ์ในการควบคุมรถไฟความเร็วสูง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมต.คมนาคม ให้สัมภาษณ์กับสื่อญี่ปุ่นว่า โครงการนี้เป็น “win-win solution” หรือสมประโยชน์ทั้งสงฝ่าย โดยบอกว่าเพื่อรับประกันว่าเทคโนโลยีชินคังเซนจะถูกใช้ตลอดไป ทำไมฝ่ายญี่ปุ่นจึงไม่เข้ามาและทำโครงการร่วมกัน? ฝ่ายญี่ปุ่นมองว่า เกมการเมืองก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ระมัดระวังในการตัดสินใจโครงการใหญ่นี้ หลังจากอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกพิพากษาจำคุก 5 ปีจากโครงการรับจำนำข้าว จนต้องลี้ภัยจนถึงทุกวันนี้ และพล.อ.ประยุทธ์คงไม่ต้องการเดินซ้ำรอยอดีตนายกฯ หญิง รัฐบาลไทยมีกำหนดจะส่งข้อเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในปลายเดือนมีนาคม จึงยังมีเวลาสำหรับการต่อรองระหว่างสงประเทศ และยังยากจะฟันธงได้ว่า รถไฟหัวกระสุนของญี่ปุ่นจะมีโอกาสแล่นในแผ่นดินไทยหรือไม่

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้