‘หัวใจวายเฉียบพลัน
นำเข้าเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2559 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58537]  

‘AED+CPR’1เครื่อง1ทักษะ ลดตาย‘หัวใจวายเฉียบพลัน’วันอาทิตย์ ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559, 02.00 น. tags : ลดตายหัวใจวายเฉียบพลัน, AED+CPR, 1เครื่อง1ทักษะ .....

 

tags : ลดตายหัวใจวายเฉียบพลัน, AED+CPR, 1เครื่อง1ทักษะ 

Tweet 

                ข่าวของ รังษี วงศ์ชัย พยาบาลชาวไทยจากโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ที่ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวให้รอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันที่สถานีรถไฟฟ้าในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถูกแชร์ในโลกออนไลน์เป็นจำนวนมากเมื่อช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ก่อนหน้านี้ พญ.มนัสนันท์ คงวิบูลยวุฒิ วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และลูกเรือของสายการบินไทย ซึ่งออกเดินทางจากประเทศไทย มุ่งหน้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้ความช่วยเหลือ ชายสูงอายุชาวไทย ที่หมดสติระหว่างการเดินทาง

                   ความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพทั้ง 2 ครั้งนี้ มาจากความรู้เรื่องวิธีการทำ CPR และการมีเครื่อง AED เตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน แต่ใช่ว่าความโชคดีนี้จะเกิดขึ้นในทุกครั้ง เพราะจากสถิติ “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ในแต่ละปีประเทศไทยมีประชาชนเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันกว่า 54,000 คน เท่ากับว่า “ในทุกๆ 1 ชั่วโมง มีคนเสียชีวิตจากโรคหัวใจมากถึง 6 คน” และเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยทุกเพศ ทุกวัย

 

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า จากทั้ง 2 เหตุการณ์ ชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR และการติดตั้งเครื่อง AED ในพื้นที่สาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเรื่องสำคัญที่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ ดังนั้น จะต้องช่วยกันผลักดันให้มีการติดตั้งเครื่อง AED ในพื้นที่สาธารณะ หรือสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

 

อาทิ สถานีรถไฟ สถานีรถโดยสารประจำทาง สนามบิน ท่าเรือ บนเครื่องบิน ระบบขนส่งมวลชนที่มีระยะทางไกล (รถไฟหรือเรือโดยสาร) ศูนย์ฟิตเนส สปอร์ตคลับ สนามกีฬา สนามกอล์ฟ ห้างสรรพสินค้า ย่านร้านอาหาร ย่านการค้า สถานที่ท่องเที่ยว ศูนย์กลางชุมชน สถานพยาบาล หรือสถานดูแลผู้สูงอายุ อพาร์ทเมนท์ที่มีผู้สูงอายุมากกว่า 50 คน โรงเรียน บริษัท โรงงาน สถานบันเทิง โรงแรมหรือศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ รวมทั้งพื้นที่ห่างไกลจากหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน เช่น เกาะ หรือหุบเขาลึก เป็นต้น

 

                    “ที่ผ่านมา สพฉ.ก็ได้กระจายการติดตั้งเครื่อง AED ที่ได้รับการสนับสนุนมาจากภาคเอกชนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ หากแต่ยังไม่เพียงพอเมื่อเทียบเท่ากับประเทศญี่ปุ่น ที่มีการติดตั้งเครื่อง AED ในพื้นที่สาธารณะมากถึง 600,000 เครื่องทั่วประเทศ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนควรมาร่วมช่วยกันผลักดันเรื่องนี้ให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้” เลขาธิการ สพฉ. กล่าว            

 

เช่นเดียวกัน..นอกจากจะมีเครื่องติดตั้งแล้ว ยังต้อง “ใช้ให้เป็น” ด้วย ซึ่ง สพฉ. ได้จัดทำคู่มือการใช้เครื่อง AED และการทำ CPR ไว้ รวมถึงขณะนี้กำลังหารือกับ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อบรรจุการทำ CPR ลงไปในหลักสูตรการเรียนการสอนด้วยในอนาคต ทั้งนี้ เลขาธิการ สพฉ. ระบุว่า หากแนวทางดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จริง

 

จะช่วยลด “ความสูญเสีย” จากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้มาก!!!

 

หมายเหตุ : download คู่มือของ สพฉ. ได้ที่นี่ http://www.thaiemsinfo.com/autopagev4/files/jkzA229Tue44812.pdf

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้