สมุนไพรกัญชา
นำเข้าเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2559 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58564]  

.....

                 1 กัญชา 2 ลักษณะของกัญชา 3 สรรพคุณของกัญชา 4 ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกัญชา 5 ประโยชน์ของกัญชา 6 โทษของกัญชา 7 ข้อควรรู้เกี่ยวกับกัญชา 8 กัญชาไม่ทำให้เสพติดจริงหรือ ? 9 References ผู้สนับสนุน กัญชา กัญชา ชื่อสามัญ Cannabis, Hemp, Indian Hemp, Marihuana, Marijuana, Dope, Gage, Ganja, Grass, Hash, Hashish, Kuf, Mary jane, Pot, Sens, Sess, Skunk, Smoke, Reefer, Weed[1],[4],[7] กัญชา ชื่อวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa subsp. indica (Lam.) E.Small & Cronquist, Cannabis indica Lam.) จัดอยู่ในวงศ์กัญชา (CANNABACEAE)

                      [1] สมุนไพรกัญชา มีชื่อเรียกอื่นว่า กัญชา กัญชาจีน (ทั่วไป), ปาง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ยานอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), คุนเช้า คุณเช้า (จีน), ต้าหมา (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[3],[4]

               ลักษณะของกัญชา •ต้นกัญชา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูเดียว มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็ก ตั้งตรง ลักษณะของลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนสีเขียวอมเทาและไม่ค่อยแตกสาขา ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ถ้าปลูกในดินร่วนซุยและมีอาหารอุดมสมบูรณ์จะงอกงามดีมาก พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีเขตการกระจายพันธุ์ในอัฟกานิสถาน ทวีปแอฟริกาเขตร้อน ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ และฮาวาย พบปลูกมากในยุโรป ประเทศบราซิล อเมริกันแถบตะวันออก และปลูกมากตามแนวเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย

                  [1],[2],[3],[4] ต้นกัญชา •ใบกัญชา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบแตกออกเป็นแฉก ๆ ประมาณ 5-8 แฉก แต่ละแฉกเป็นรูปยาวรี ปลายและโคนสอบ ส่วนขอบใบทุกแฉกเป็นหยักแบบฟันเลื่อย มีขนาดกว้างประมาณ 0.3-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ลักษณะของใบโดยรวมจะคล้าย ๆ กับใบละหุ่ง ใบฝิ่นต้น และใบมันสำปะหลัง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างท้องใบมีสีเทาอ่อนเล็กน้อย มีขนต่อมกระจายทั่วผิวใบด้านบน ส่วนด้านล่างมีขนอ่อนนาบไปกับแผ่นใบ ก้านใบยาวประมาณ 4-15 เซนติเมตร ในก้านหนึ่งจะมีใบเดี่ยว 3-11 ใบ มีกลิ่นเหม็นเขียว

                [1],[2],[3],[4] ใบกัญชา •ดอกกัญชา ออกดอกเป็นช่อที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีทั้งดอกช่อเพศผู้และดอกช่อเพศเมีย ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น โดยช่อดอกและใบของต้นเพศผู้จะจัดเรียงตัวกันแบบห่าง ๆ (ภาพแรก) ซึ่งต่างจากต้นเพศเมียที่จะเรียงชิดกัน ดอกเล็ก และดอกเพศเมียจะมีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ (ภาพสอง)[4] ดอกกัญชาเพศผู้ ดอกกัญชาเพศเมีย •ผลกัญชา ผลแห้งขนาดเล็ก เมล็ดล่อน ไม่แตก ลักษณะของผลเป็นรูปไข่กว้าง ผิวผลเรียบเป็นมัน สีน้ำตาลแกมเทาหรือสีเทาเข้ม มีใบประดับหุ้ม ในผลจะมีเมล็ดขนาดเล็ก เมล็ดมีลักษณะกลม

                    [1],[2],[3],[4] เมล็ดกัญชา หมายเหตุ : กัญชง และ กัญชา เป็นพืชคนละชนิด แต่มีต้นกำเนิดมาจากพืชชนิดเดียวกัน โดยต้นกัญชา (Marijuana) จะมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. Subsp. indica (Lam.) E. Small & Cronquist ส่วนต้นกัญชง (Hemp) จะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannnabis sativa L. Subsp. sativa ซึ่งลักษณะภายนอกของพืชทั้งสองชนิดนี้จะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยจนยากแก่การจำแนก

                 กัญชงและกัญชา สรรพคุณของกัญชา 1.ตำรายาไทยจะใช้เมล็ดกินเป็นยาชูกำลัง ช่วยเจริญอาหาร แต่ถ้ากินมากจะมีอาการหวาดกลัวและหมดสติ (เมล็ด)[2] 2.ยอดอ่อนเมื่อนำมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ จะได้สารที่เรียกว่า “ทิงเจอร์แคนเนบิสอินดิคา” ซึ่งเป็นน้ำยาสีเขียว เมื่อกินเข้าไปประมาณ 5-15 หยด จะมีสรรพคุณเป็นยาช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท เป็นยาสงบเส้นประสาท ทำให้นอนหลับ เคลิ้มฝัน แก้โรคสมองพิการ เป็นยาระงับปวด และเป็นยาแก้อักเสบ (ยอดอ่อน)

             [1],[3] 3.ดอกใช้เป็นยาแก้โรคเส้นประสาท เช่น นอนไม่หลับ คิดมาก หรือใช้กับผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร โดยนำมาปรุงเป็นอาหารให้กิน (ดอก)[1],[3] 4.ใบใช้เป็นยาแก้ไข้ผอมเหลือง ไม่มีกำลัง ตัวสั่น เสียงสั่น (ใบ)[2] 5.ใบกัญชา ใช้เป็นยารักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลมและลดการหดตัวของหลอดลม ด้วยการนำใบสดมาหั่นให้เป็นฝอย แล้วเอาไปตากแห้ง จากนั้นจึงนำมาสูบเป็นยารักษาโรค (ใบ)

                        [1] 6.ใช้ดอกผสมกับยาฉุนพญามือเหล็ก นำมาหั่นแล้วสูบเป็นยาช่วยกัดเสมหะในลำคอ (ดอก)

           [1] 7.เมล็ดใช้เป็นยาแก้กระหายน้ำ (เมล็ด)[3] 8.น้ำยาสีเขียวที่สกัดได้จากยอดอ่อนด้วยแอลกอฮอล์ มีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคบิด แก้ปวดท้อง และโรคท้องร่วง (ยอดอ่อน)

                   [1],[33] ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้บิดเช่นเดียวกับยอด (เมล็ด)[3] 9.เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องผูก ใช้เป็นยาแก้ท้องผูกในคนสูงอายุได้ดี ด้วยการใช้เมล็ดซึ่งมีน้ำมัน 30% ให้ใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา (เมล็ด)[3] 10.ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เมล็ดกัญชาจำนวน 3 เมล็ด นำมาผสมกับพริกไทย 3 ผล บดให้เป็นผง ใช้ผสมกับน้ำกินทุกคืนเป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรี (เมล็ด)[2] 11.ช่วยแก้ประจำเดือนไม่ปกติของสตรี (ทั้งต้น)[3] 12.ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน (ทั้งต้น)[3] 13.ใช้เป็นยาแก้กล้ามเนื้อกระตุก (ทั้งต้น)[3]

               14.ช่วยลดอาการเจ็บปวดจากโรคไขข้ออักเสบ[11] 15.นอกจากสรรพคุณที่กล่าว ในทางการแพทย์ยังใช้ประโยชน์จากกัญชาในการรักษาโรคและบรรเทาอาการอย่างหลากหลาย เช่น ใช้แก้ปวดหัวไมเกรน แก้อาการสั่นเพ้อ แก้อาการไอ อ่อนล้า ปวดประจำเดือนของสตรี โรคข้อ หรือกระทั่งโรคมะเร็งบางชนิด[8]

                     ขนาดและวิธีใช้ : ใช้ต้มรับประทาน โดยต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-20 กรัม หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา ส่วนเมล็ดให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม[3] ข้อควรระวัง : ในกรณีที่รับประทานมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการประสาทหลอด มีอาการชัก ตาลาย หรือกลายเป็นยาเสพติด ในผู้ชายหากรับประทานมากเกินไปจะทำให้น้ำกามเคลื่อน ส่วนสตรีที่รับประทานมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการตกขาว[3]

               ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกัญชา •สารที่พบในกัญชา คือสาร cannabinol, cannabidiol, tetrahydrocannabinol (THC) และยังพบน้ำมันระเหยอีก เช่น cannabichromenic acid, linolledie acid, lecihin, น้ำมัน, โปรตีน, วิตามินบี1, วิตามินบี2, choline เป็นต้น[3] •ยางจากช่อดอกเพศเมียมีสารเสพติดหลายชนิด เช่น tetrahydrocannabinol[2],[3] •กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้นำสาร THC มาศึกษาทดลองทางคลินิก โดยนำมาใช้รักษาในหลายอาการ เช่น ลดอาการปวด ลดอาการลดเกร็งและชักกระตุกของกล้ามเนื้อ อาการของโรคทางกระเพาะปัสสาวะ โรคลมชัก โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งผลการตอบสนองของการรักษาเป็นไปในทิศทางที่ดี[5] •สาร cannabinol มีฤทธิ์ทำให้เคลิ้มฝัน ความจำเสื่อม ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด[2],[3] •สารในกลุ่ม cannabinol มีฤทธิ์ระงับอาการปวด พบว่าผู้ชายที่สูบกัญชาวันละ 8-20 มวน เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าจำนวนเชื้อของอสุจิจะลดลง[2],[3]

                 •เมล็ดกัญชาที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วนำมาแยกสารจากแอลกอฮอล์อีกที จะได้สารที่มีลักษณะเป็นสารเหนียวคล้ายกับนมผึ้ง เมื่อนำมาฉีดเข้าในลำไส้เล็กของแมวที่ถูกทำให้สลบ ในปริมาณ 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะพบว่าหลังจากฉีดยาผ่านไปแล้วครึ่งชั่วโมง ความดันโลหิตจะลดลงไปครึ่งหนึ่งจากระดับปกติ แต่มีระดับการหายใจปกติ ไม่มีเปลี่ยนแปลง[3] •จากการทดลองในห้องแลปพบว่า cannabidiol

                  สามารถรักษาแผลในเซลล์ลำไส้ที่เกิดจากอาการอักเสบของโรค Crohn’s disease ได้ เนื่องจากมันมีคุณสมบัติเป็นตัวดูดซับอนุมูลอิสระซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ cannabidiol จึงช่วยชะลอการทำงานของเซลล์ภูมิต้านทาน microglia ที่อาจจะถูกกระตุ้นจากการอนุมูลอิสระมากเกินไปและทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น โดยการทดสอบนี้เกิดขึ้นในสมองและตา จากการทดสอบในตาจึงอาจนำไปสู่การใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่กำลังจะสูญเสียตาได้อีกด้วย[14] •                  

               จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์จากมาดริด ประเทศสเปน ได้พบว่าสาร THC สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งในสมอง ผิวหนัง และตับอ่อนได้ โดย THC จะทำลายกระบวนการเกิดมะเร็ง โดยเนื้อร้ายจะสร้างร่างแหเส้นเลือดขึ้นเลี้ยงตนเองและป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งเคลื่อนย้ายไปที่อื่น จากนั้นสาร THC จะเข้าไปจับกับโปรตีนรีเซพเตอร์บนผิวเซลล์มะเร็ง กระตุ้นเซลล์สร้างสารประเภทไขมันที่เรียกว่า “ceramide” แล้วทำให้เซลล์ทำลายตัวเอง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ดี และรายงานก่อนหน้านี้ยังแสดงให้เห็นว่า THC สามารถต่อสู้กับมะเร็งเต้านมและโรคลูคีเมียได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการทดสอบกัญชากับเบาหวาน, โรคอักเสบตามข้อต่อ, การอุดตันของเส้นเลือดเลี้ยงสมอง, โรคจิตเสื่อม, และโรคลมบ้าหมูอีกด้วยสาร THC สามารถช่วยเร่งให้หนูทดลองลืมประสบการณ์ที่ไม่ดีได้เร็ว สำหรับในคนสาร THC ที่อยู่ในรูปแคปซูลจะทำให้ทำนอนหลีบดีขึ้นและหยุดฝันร้ายได้

                   [14] ประโยชน์ของกัญชา 1.ในอดีตที่ผ่านมากัญชาถูกนำไปผสมกับอาหารเพื่อช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร ทางการแพทย์จึงเลือกใช้สาร THC ที่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีชื่อว่า Dronabinol นำมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งพบว่าสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนของผู้ป่วยกลุ่มนี้และทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ดียิ่งขึ้น[5]

                    2.ในปัจจุบันมีการนำกัญชามาใช้เป็นยาลดความดันในนัยน์ตาของคนที่เป็นต้อหิน (glaucoma) แต่ผลที่ได้ยังไม่ชัดเจน และยังต้องรอการพิสูจน์อยู่ นอกจากนี้ยังมีการนำสารสำคัญในเรซินมาใช้เป็นยาระงับการอาเจียนที่เกิดขึ้นในคนที่เป็นโรคมะเร็ง ซึ่งได้รับการรักษาโดยวิธีเคมีบำบัด (chemotherapy)[4] 3.การที่ร่างกายได้รับสาร Cannabinoids ในปริมาณที่เหมาะสม จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดอาการซึมเศร้าที่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้สูงอายุได้ เนื่องจากสาร Cannabinoids จะช่วยปรับสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้ผู้ใช้มีความสุข ใจเย็นลง และลดการแสดงพฤติกรรมรุนแรงในทางด้านอารมณ์ (หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม)[10]

                   4.จากงานวิจัยพบว่า สาร THC สามารถยับยั้งเซลล์เอเบตาโปรตีนไม่ให้ผลิตสารพิษที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ เพราะฉะนั้นกัญชาจึงสามารถป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ได้[12]

                  5.จากการศึกษาพบว่า กัญชามีสรรพคุณในการฆ่าเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้อร้ายในสมองเหี่ยวลดลงได้ โดยจากการศึกษาของสำนักปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติอเมริกัน แสดงให้เห็นว่าสารสกัดของกัญชาสามารถช่วยให้คนไข้ตอบสนองกับการบำบัดด้วยการฉายรังสีดีขึ้น ส่วนการทดลองกับสัตว์ ก็พบว่าสารจากกัญชาสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ ทำให้เนื้อร้ายหดเหี่ยวลง โดยมีหลักฐานว่าสารสกัดจากกัญชาสามารถทำให้เนื้อร้ายในสมองชนิดที่ร้ายแรงที่สุดมีขนาดลดลง ซึ่งสารสกัดเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ควบคู่กับการฉายแสง จะทำให้ฤทธิ์ในการฆ่ามะเร็งมีเพิ่มมากขึ้นด้วย[13] 6.จากการทดลองล่าสุดแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากกัญชาอาจสามารถรักษาโรคที่เกิดจากการอักเสบของสมองและไขสันหลัง หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบอื่น ๆ หรือแม้แต่อาจช่วยทำลายเนื้องอกที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้

                   จากการวิจัยพบว่าคนไข้ที่รับ THC หรือสารสกัดจากกัญชาอีกตัวที่เรียกว่า cannabidiol (CBD) สามารถช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและอาการสั่น สามารถทำให้นอนหลับ และมีการไหวที่ดีขึ้น อีกทั้ง CBD ยังออกฤทธิ์ได้นานกว่าการใช้สเตียรอยด์หรือยาแก้อักเสบอีกด้วย จึงทำให้ในแคนาดามีการใช้สเปรย์ที่มีส่วนผสมของ cannabinoid เพื่อรักษาโรคที่เกิดจากการอักเสบของสมองและไขสันหลัง (Multiple Sclerosis – MS)[14]

                    7.สาร cannabinoid ที่พบในกัญชาอาจมีความสัมพันธ์กับระบบการเผาพลาญของร่างกาย โดยพบว่าในผู้ที่สูบกัญชาจะเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่ไม่เคยสูบ โดย Ms. Penner และคณะ ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของการสูบกัญชากับระดับน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครจำนวน 4,657 ราย (แบ่งเป็น กลุ่มกำลังสูบ, กลุ่มที่เคยสูบแต่เลิกแล้ว และกลุ่มที่ไม่เคยสูบ) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่สูบกัญชามีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่เคยสูบกัญชาร้อยละ 16 นอกจากนั้นยังพบว่ามีค่า HOMA-IR ต่ำกว่าร้อยละ 17 ระดับคอเลสเตอรอล HDL หรือไขมันชนิดดี สูงกว่า 1.63 mg/dL และมีรอบเอวเล็กกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มที่เคยสูบแต่เลิกไปแล้ว ไม่พบว่ามีการลดลงของระดับน้ำตาลเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยสูบ จากการทดลองดังกล่าว จึงสันนิษฐานได้ว่าผลของกัญชาที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดจะมีผลเฉพาะในช่วงที่ใช้กัญชาเท่านั้น[16]

                     8.เส้นใยของลำต้น สามารถนำมาใช้ในการทอผ้าหรือทอกระสอบได้ ซึ่งจะได้ผ้าที่มีคุณภาพดี มีความเหนียวสูง มีค่าการต้านแรงดึงสูง มีความยืดหยุ่น มีแรงบิดสูง น้ำหนักเบา และมีความคงทนมาก นิยมใช้ทำเสื้อเกราะ วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์รถยนต์[1],[4]

                   9.ทุกวันนี้บริษัททำกระดาษของอเมริกาและญี่ปุ่น ต้องทำลายป่าไม้ปีละกว่า 50,000 ตารางกิโลเมตร แต่การปลูกกัญชาซึ่งเป็นพืชที่มีวงชีวิตเพียง 120 วัน สามารถที่จะปลูกได้ 10 ตันต่อพื้นที่ 2 ไร่ ภายในเวลาเพียง 4 เดือน ซึ่งปลูกได้เร็วกว่าฝ้าย 4 เท่า และให้น้ำหนักมากกว่าฝ้ายถึง 3 เท่า อีกทั้งกัญชายังไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง และยังช่วยเพิ่มคุณภาพของดิน โดยจากการศึกษาพบว่า กัญชาสามารถปลูกและนำมาทำกระดาษได้มากเป็น 4 เท่าของการทำไม้ยืนต้น เส้นใยมีคุณภาพที่ดีกว่า ไม่ต้องใช้คลอรีนเหมือนการทำจากไม้ ซึ่งจะทำให้เกิดสารไดออกซิน ส่วนที่เหลือจากการทำเส้นใยก็สามารถนำมาผสมกับปูนขาวและน้ำ ก็จะได้วัสดุที่เบาและแข็ง มีความทนทานกว่าปูนซีเมนต์ (มีการกล่าวกันว่า กระดาษที่ใช้พิมพ์คัมภีร์ไบเบิล ธงชาติอเมริกัน หรือกางเกงยีนลีวายที่ลือชื่อ แต่เดิมก็ทำมาจากป่านที่ได้จากต้นกัญชาทั้งสิ้น)[15]

                         10.ใบจากพืชชนิดนี้สามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้[15] 11.น้ำมันที่ได้จากเมล็ดจะเป็นน้ำมันไม่ระเหย (fixed oil) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ใช้ทำสีทาบ้าน ทำสบู่ เป็นต้น[1]

                          12.นอกจากนี้ เศษหรือกากที่ได้จากการสกัดเอาน้ำมันจากเมล็ดออกแล้ว ยังใช้เป็นอาหารของโค กระบือ ได้อีกด้วย[1] ผู้สนับสนุน โทษของกัญชา •ในเบื้องต้นการเสพกัญชาจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการร่าเริง ช่างพูด ตื่นเต้น หัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อน เซื่องซึม และง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมากจะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว หวาดระแวง ความคิดสับสน และควบคุมตัวเองไม่ได้ ในบางรายอาจไม่รู้จักตนเองหรือไม่เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว[7]

                •การเสพกัญชาแม้เพียงระยะสั้น ผู้เสพบางรายอาจสูญเสียความทรงจำได้ เพราะกัญชาจะทำให้สมองและความจำเสื่อม เกิดความสับสัน วิตกกังวล และหากผู้เสพเป็นผู้ที่มีอาการทางจิตด้วยแล้ว ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติทั่วไปด้วย โดยอาการทางจิตประสาทที่พบได้บ่อย ๆ คือ สมาธิสั้น ความจำแย่ลง มีปัญหาในการตัดสินใจ และบางคนอาจมีปัญหาเรื่องการทรงตัว นอกจากนี้ยังส่งผลอื่น ๆ ต่อร่างกายด้วย เช่น ม่านตาหรี่ ตาแดง มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น[7]

                    •กัญชามีฤทธิ์ทำลายสมรรถภาพทางกาย ผู้เสพในปริมาณมากเป็นระยะเวลานานจะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมจนไม่สามารถทำงานได้ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ความคิด การตัดสิน และแรงงาน สารในกัญชาจะทำลายระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายหลายส่วน ทำลายระบบการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง มีอาการเพลีย ทำให้น้ำหนักตัวลด ฯลฯ[7]

                   •กัญชายังมีฤทธิ์ทำลายความรู้สึกทางเพศ ทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในชายลดลง ทำให้ปริมาณอสุจิน้อยลง ผู้เสพจึงมักมีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในที่สุด[7]

                   •ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากผู้เสพอัดควันกัญชาเข้าไปในปอดลึกนานหลายวินาที[7] แต่อย่างไรก็ตามก็มีข้อมูลที่ระบุว่า “การสูบกัญชานั้นไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด” เพราะแม้การสูบกัญชาจะทำให้ร่างกายได้รับน้ำมันดิบที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด แต่ในกัญชานั้นมีสาร THC ที่มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบที่เกิดจากน้ำมันดินได้ จึงเป็นสาเหตุให้การสูบกัญชาไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดเหมือนการสูบบุหรี่ทั่วไป

                     [9] •การสูบบุหรี่ยัดไส้กัญชาเพียง 4 มวน จะเท่ากับการสูบบุหรี่ 20 มวน หรือ 1 ซอง มันจึงสามารถทำลายการทำงานของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้มากกกว่าคนสูบบุหรี่ธรรมดาถึง 5 เท่า ! อีกทั้งกัญชายังมีสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายที่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เมื่อเทียบกับบุหรี่ทั่วไปแล้ว ในกัญชาจะมีมากกว่า 50-70%[7]

                   •ผู้ที่เคยเสพติดกัญชาส่วนใหญ่จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคจิตในภายหลังมากกว่าคนที่ไม่สูบถึงร้อยละ 60 ยิ่งเสพมากและเสพเป็นเวลานานก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเข้าไปอีก โดยผู้ที่เสพหนักที่สุดจะมีโอกาสเป็นโรคจิตสูงกว่าคนปกติ 4-6 เท่า ![7] •การขับรถในขณะเมากัญชาจะก่อให้เกิดอันตรายได้ง่ายมาก เพราะฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้เราเสียสมาธิ ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด การตอบสนองช้าเล็ง ความสามารถในการมองเห็นสิ่งเคลื่อนที่น้อยลง จึงอาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้อื่น[7] •หญิงที่เสพกัญชาในระยะตั้งครรภ์ ทารกที่เกิดมาอาจพิการและพบความผิดปกติทางร่างกายได้ เช่น ความผิดปกติของเซลล์ประสาทในสมอง ความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ และอาจเป็นโรคทางพันธุกรรม อีกทั้งกัญชายังมีผลเสียต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ เพราะกัญชามีฤทธิ์ทำลายโครโมโซมของทารก[7]

                   •เมื่อร่างกายขาดยา จะเกิดอาการผิดปกติทางด้านจิตใจ เช่น มีอาการกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ วิตกกังวล อ่อนเพลีย ฯลฯ[7] •การเสพกัญชาเป็นระยะเวลานานจะนำมาซึ่งภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงและก่อให้เกิดความผิดปกติของหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลม มีความผิดปกติทางสมองจนก่อให้เกิดอาการทางจิตประสาทตามมา ยิ่งเสพมากอาการก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาการที่แสดงให้เห็นถึงความทรมานจากการเสพกัญชาก็มีมากมาย เช่น คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง วิงเวียนศีรษะ ปวดท้องมาก หรืออาจมีอาการแพ้ได้ เช่น เป็นผื่นคัน ตัวบวม อึดอัด หายใจลำบาก หายใจไม่ออก เป็นต้น

                      [5] •ด้วยฤทธิ์ของกัญชาที่ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล รู้สึกสนุกสนาน เคลิบเคลิ้มมีความสุข จึงทำให้มีผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์และเสพติดกัญชาเป็นจำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อ โดยจะมีจำนวนเป็นรองก็แต่กลุ่มคนที่ติดสุรา กาแฟ และบุหรี่เท่านั้น[5] กัญชาแห้ง ข้อควรรู้เกี่ยวกับกัญชา •โดยรวมแล้ว กัญชามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายกับพวกยากระตุ้นประสาท ยากดประสาท ยาหลอนประสาท ยาแก้ปวด และยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หลายประการในยาตัวเดียวกัน ผู้เสพกัญชาจึงมีอาการเคลิ้มจิต โดยในขั้นต้นมักจะเป็นอาการกระตุ้นประสาท บางคนจะมีอาการตึงเครียดทางใจหรือมีอาการกังวล ต่อมาก็มีอาการเคลิ้มจิตเคลิ้มใจ ทำให้รู้สึกว่าบรรยากาศทั่ว ๆ ไปเงียบสงบ จากนั้นก็มักจะมีปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เดี๋ยวหัวเราะลั่น เดี๋ยวสงบ ส่วนอาการอื่น ๆ ที่พบได้คือ ผู้เสพจะรู้สึกล่องลอย สับสัน ปากแห้ง อยากอาหาร ชีพจรเพิ่มขึ้น ตาแดงขึ้นในขณะที่เสพ หากเสพเป็นประจำสุขภาพโดยรวมจะเสื่อมลง เป็นโรคหลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ทางเดินหายใจอักเสบ ท้องร่วง เป็นตะคริว

                        [6] •จากการศึกษาการกระจายตัวของสาร THC พบว่าการสูดดมควัน สาร THC จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายประมาณ 10-35% ส่วนการเสพโดยการกลืนลงในระบบทางเดินอาหาร จะถูกดูดซึมเพียง 6-20% ร่างกายจะต้องใช้เวลาประมาณ 1.6-59 ชั่วโมง ในการกำจัดปริมาณของสาร THC ในกระแสเลือด 50% โดยผ่านทางปัสสาวะและอุจจาระ[5] ฤทธิ์ของกัญชาเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายจะแทรกซึมเข้าสู่กระเลือดอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที และจะออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทได้สูงสุดถึง 1 ชั่วโมง อาการโดยทั่วไปจะเซื่องซึมลงอย่างช้า ๆ แต่บางรายก็ลดลงอย่างรวดเร็ว

                 [6] •ฤทธิ์ของมันทำให้ผู้สูบหรือเสพเข้าไปแล้วจะทำให้ติด เกิดอาการเพ้อฝัน ความจำเลอะเลือน ตัวสั่น ทำให้เป็นคนเสียสติ เป็นคนวิกลจริตพิการ ฉะนั้นเมื่อมีการใช้ จึงควรใช้ในขนาดที่เหมาะสม[1] •ส่วนของกัญชาที่นำมาใช้เสพ คือ ส่วนของใบและยอดช่อดอกกัญชาเพศเมีย (กะหลี่กัญชา) เนื่องจากมีสาร THC มากกว่าส่วนอื่น โดยนำมาตากแห้งแล้วมวนเป็นบุหรี่สูบ บางคนอาจเคี้ยวใบหรือใช้เจือปนกับอาหารรับประทาน ซึ่งจะช่วยเจริญอาหารได้ ดังที่แม่ค้าขายส้มตำและอาหารอีสาน นำใบกัญชาแห้งมาต้มใส่ปลาร้า ทำให้ลูกค้าติดใจในรสชาติ[7]

                  •ผู้เสพมักเสพด้วยวิธีการสูบควัน ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “บ้อง” ซึ่งอาจจะทำมาจากวัสดุต่างกันหลายชนิด เช่น บ้องแก้ว, บ้องไม้ไผ่ ฯลฯ โดยวิธีการสูบจะนำกัญชาที่เป็นก้อนอัดแท่งมาสับให้ละเอียด หรือเรียกว่า “ยำ” เสร็จแล้วจึงนำผงกัญชาที่สับได้มาอัดใส่ตรงส่วนจะงอยที่ยื่นออกมาของบ้อง แล้วจุดไฟเผาโดยตรงไปที่ผงกัญชา และผู้เสพจะสูบอัดควันเข้าไปเต็มปอดให้ได้มากที่สุด ส่วนอีกวิธีหนึ่งก็คือการนำมามวนเป็นบุหรี่สูบ (ไม่เป็นที่นิยมเท่าวิธีแรก) นอกจากนี้ยังเสพด้วยการกินทั้งใบสดและใบแห้ง (ข้อมูลจาก : pantip.com by pinspin)

                          •ยอดของต้นเพศเมียที่กำลังออกดอกจะเรียกว่า “กะหลี่กัญชา” เมื่อนำมาตากแห้งแล้ว จะนิยมนำมาใช้สูบ ซึ่งกะหลี่กัญชาจะให้เรซินซึ่งเป็นยาเสพติด (เป็นส่วนที่มีฤทธิ์มากที่สุด) ผู้ที่เมากัญชาจะมีอาการเกิดขึ้นต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น อาจมีอารมณ์สนุกหรืออารมณ์โศกเศร้าก็ได้ มีความรู้สึกเลอะเลือนในเรื่องเวลา บ้างมีอาการก้าวร้าว บางคนมีอาการหวาดกลัว ความคิดสับสัน เกิดอารมณ์เคลิ้มฝัน โดยฤทธิ์ของกัญชานั้นจะอยู่ในร่างกายได้นาน 3-5 ชั่วโมง หลังจากนี้ผู้เสพจะมีอาการเซื่องซึมและหิวกระหาย เมื่อสร่างแล้วจะนิยมกินของหวาน ผู้ที่สูบเป็นประจำมักจะสมองเสื่อมและเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

                               [4] •จากการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสาร THC ในกัญชา พบว่าสาร THC จะเข้าไปจับกับตัวรับในสมองซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Cannabinoid receptor ซึ่งจะส่งผลต่อความจำ การมีสติ ความคิด ความสมดุลในการเคลื่อนไหวของร่างกาย และความอยากอาหาร[5] •สำหรับประเทศไทยจัดให้กัญชาอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 โดยห้ามมิให้ประชาชนมีไว้ครอบครองหรือเสพ แต่อนุญาตให้ใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น โดยเป็นในรูปแบบของสารสกัด THC ที่มีสัดส่วนแน่นอนและได้มาตรฐานทางการแพทย์เท่านั้น

                    [5] ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท และหากครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                  [6] •ในกัญชามีสารเคมี cannabinoids มากถึง 30 ชนิดอยู่ในจำนวนหนึ่ง โดยสารสำคัญในกลุ่มนี้ที่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol -THC) ซึ่งสารดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000-400,000 บาท หากมีไว้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาต จะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท

                    [6] •ยาที่สกัดจากกัญชามีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็นยาแคปซูลชนิดรับประทาน มีขนาดบรรจุของ Dronabinol 2.5, 5, 10 มิลลิกรัมต่อแคปซูล มีชื่อทางการค้าว่า Marinol (มารินอล) ซึ่งแพทย์จะนำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้อยากอาหารและลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดในผู้ป่วย[5] •ด้วยประโยชน์มากมายของกัญชา จึงทำให้ในบางประเทศ อนุญาตให้ปลูกและซื้อขายกัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย เช่น ในสหรัฐได้ออกกฎหมายให้ 14 มลรัฐสามารถใช้กัญชาในทางการแพทย์ได้, ในเนเธอแลนด์อนุญาตให้มีการสูบได้อย่างถูกกฎหมาย สามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่ยังไม่อนุญาตให้ผลิตหรือปลูกได้เอง ในขณะที่อุรุกวัยอนุญาตให้มีการปลูกและซื้อขายกัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย เป็นต้น[8] กัญชาไม่ทำให้เสพติดจริงหรือ ? จริงอยู่ที่ว่าสาร THC และสารออกฤทธิ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในกัญชานั้นมีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้น้อยกว่านิโคตินค่อนข้างมาก แต่หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือแม้จะไม่ใช้ทุกวัน หรือใช้เพียงสัปดาห์ละครั้งหรือเดือนละครั้ง

                    “ก็สามารถทำให้เสพติดได้” ซึ่งจะเป็นภาวะการเสพติดโดยไม่รู้ตัว หรือที่เรียกว่า “ภาวะสมองติดยา” คือสมองจะค่อย ๆ ปรับตัวและสมดุลของสารเคมีในสมองนั้นจะเปลี่ยนไปอย่างช้า ๆ แม้ว่าจะไม่รวดเร็วหรือรุนแรงเท่าการออกฤทธิ์ของยาบ้า ยาไอซ์ หรือยาอีก็ตาม แต่เมื่อสารเคมีในสมองผิดปกติเป็นประจำ ในที่สุดสมองก็จะไม่สามารถกลับมาทำหน้าที่ได้อย่างปกติ ทำให้ผู้เสพมีอาการถอนยาเกิดขึ้น และต้องกลับเสพอีกในที่สุด ที่หลายคนพูดว่ากัญชาเป็นยาเสพติด “ที่ไม่เสพติด” ความจริงแล้วเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมากกว่าความเข้าใจผิด ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่ายาเสพติดส่วนใหญ่นั้นส่วนมากร้อยละ 90

                       จะเป็นสารเคมีหรือสารสังเคราะห์ (ยาบ้า, ยาไอซ์, ยาอี, สารระเหย) และอีกร้อยละ 10 จะเป็นพวกสารเสพติดที่ได้จากพืช (กัญชา, กระท่อม, ฝิ่น, ยาสูบ, เห็ดขี้ควาย) ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องใช้ในปริมาณมากกว่ากลุ่มแรก เพราะไม่ได้สกัดเอาเฉพาะสารเคมีที่ออกฤทธิ์มาใช้ ข้อดีคือจะมีฤทธิ์เสพติดรุนแรงน้อยกว่า แต่หาซื้อได้ง่ายและราคาถูกกว่ากลุ่มแรกมาก (ข้อมูลจาก : pantip.com by pinspin)

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้