ลูกหลานต้องจารึกไว้
นำเข้าเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2559 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58558]  

.....


 

                      ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาก้าวหน้าจนตามไม่ทัน ไม่ว่าจะเดินไปทางไหน ทำกิจกรรมอะไร ก็มักเห็นผู้คนมาพร้อมกับอุปกรณ์สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีต่างๆ อีกมากมาย คนเมืองใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบาย ค้นคว้าหาข้อมูล ติดต่อสื่อสารกันอย่างไร้ขอบเขต เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสิ่งต่างๆ นับไม่ถ้วน

                    แต่ในประเทศไทย ยังมีพื้นที่ห่างไกลอีกมากมาย ที่ยังขาดการเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ และในวันนี้ "ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" เดินทางลงพื้นที่ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม หมู่ที่ 1 ตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ที่แต่ก่อนไม่มีกระทั่งไฟฟ้าใช้

 
ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม จ.ประจวบคีรีขันธ์

                     ย้อนไปเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2559 ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม ในการนี้ ทรงเปิด "ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม" จัดสร้างขึ้นตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุน งบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียน ขณะที่อาคารบ้านพักครู ได้พระราชทานพระราชทรัพย์สร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 1 หลัง

 
 
                 ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 105 คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน 6 นาย และผู้ดูแลเด็ก 2 คน

                       ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช 2557 เดิมตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ของอาคารศาลาว่าการของชุมชนบ้านคีรีล้อม ต่อมาเพื่อสะดวกในการจัดการเรียนการสอนและรองรับนักเรียนในพื้นที่ จึงได้ย้ายมายังที่ดินสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน บนเนื้อที่ 25 ไร่ โดยเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 105 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนสัญชาติไทย มีเพียงบางส่วน
เป็นไทยพลัดถิ่น เมียนมา และมอญ มีครูตชด. หรือ ครูตำรวจตระเวนชายแดน 6 นาย และผู้ดูแลเด็ก 2 คน

                        ศูนย์การเรียนฯ แห่งนี้ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำหน่วยพิทักษ์ป่าคีรีล้อม ยังไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้าและไม่มีระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้การใช้ชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก เหล่าบรรดาเด็กนักเรียนขาดโอกาสในการศึกษาหาความรู้ ใช้เพียงห้องสมุดที่บางทีข้อมูลก็ล้าสมัยไปมากแล้ว

                      จนกระทั่ง ทางมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. และภาคเอกชน อย่างผู้ให้บริการด้านเครือข่าย เอไอเอส เข้ามาสนองพระราชดำริการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไอซีที เพื่อให้เยาวชนและชุมชนชายขอบได้เข้าถึงแหล่งความรู้และการติดต่อสื่อสาร ในโครงการระบบไอซีทีและพลังงานทดแทนแบบบูรณาการสำหรับชุมชนชายขอบตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 
แผงระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้า

 

 
ชุดชาร์จแบตเตอรี่จากพลังงานแสงอาทิตย์

 

 
พลังงานจากน้ำ นำไปใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า

                       สำหรับขั้นตอนการดำเนินงาน เริ่มตั้งแต่การผลิตพลังงานไฟฟ้า เพราะบริเวณชุมชนบ้านคีรีล้อมอยู่ในพื้นที่ห่างไกลยังไม่มีระบบไฟฟ้า และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมยังเข้าไปไม่ถึง เอไอเอสจึงร่วมกับ เนคเทค ออกแบบ พัฒนา และติดตั้งระบบพลังงานทดแทนแบบบูรณาการ ที่ใช้ระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ และพลังงานจากน้ำ โดยมีความจุ 6,200 วัตต์ เพื่อให้เพียงพอสำหรับใช้งานภายในศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแห่งนี้ พร้อมมีระบบตรวจวัดข้อมูลสังเกตการณ์ระยะไกล เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ และเข้ามาแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

 
สถานีเก็บประจุไฟฟ้า

                        นอกจากนี้ ยังร่วมกันจัดตั้งสถานีเก็บประจุไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนนำตะเกียงมาชาร์จไฟไปใช้งานที่บ้านได้ พร้อมทั้งจัดอบรมเพื่อให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนเรื่องการใช้งาน ตลอดจนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่มีไฟฟ้าใช้ไปนานๆ ไม่ต้องเสียเวลาซ่อมแซม

 
ตะเกียงที่ประชาชนนำมาชาร์จไฟ จากสถานีเก็บประจุไฟฟ้า

                       โครงการดังกล่าว เอไอเอสได้รับหน้าที่นำระบบไอซีทีมาเชื่อมโยงการสื่อสารจัดทำห้องเรียนต้นแบบด้านการเรียนรู้สำหรับเยาวชน ติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายและระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เพื่อให้เยาวชนและชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

                          นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส มองเป้าหมายของเอไอเอสในการปรับเปลี่ยนองค์กรจากการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ Mobile Operator สู่การเป็นผู้ให้บริการดิจิทัล หรือ Digital Service Provider อันดับ 1 
และเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมต่างๆ ของเมืองไทย เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามายกระดับการใช้ชีวิตของลูกค้าในยุคปัจจุบัน ให้ง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านการทำงาน การใช้ชีวิตและ การเรียนรู้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารให้ทันสมัย มีคุณภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง

 
บรรยากาศภายในห้องเรียนต้นแบบด้านการเรียนรู้สำหรับเยาวชน ติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย และระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G

                      ตัวโครงการดังกล่าว ตำรวจตระเวนชายแดน เอไอเอส และสวทช. มีเป้าหมายที่จะติดตั้งระบบเดียวกันไปยังโรงเรียนชายขอบบริเวณรอบรอยต่อชายแดนอีก 20 โรงเรียนทั่วประเทศภายในปีนี้

                 ส่วนรูปแบบของพลังงานทดแทนจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ว่าจะใช้ลักษณะใด โดยการยิงสัญญาณจะดึงจากเสาสถานีฐานขนาดใหญ่ในตัวเมือง ทดแทนการใช้การส่งสัญญาณจากดาวเทียมไอพีสตาร์ เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงมากเรื่องค่าเช่าแบนด์วิธ แต่การทำลักษณะพลังงานทดแทนใช้เงินลงทุนราว 3.5 ล้านบาท

                       ด้าน พล.ต.ท.ดร ปิ่นเฉลียว ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กล่าวว่า พื้นที่ตามแนวชายแดนชายขอบมีทั้งสิ้น 5,600 ตารางเมตร ในขณะที่ ตำรวจตระเวนชายแดนมีเพียง 20,000 คน สิ่งที่จะทำให้การดูแลความเรียบร้อยตามแนวชายแดนประสบความสำเร็จคือความร่วมมือกันระหว่างชุมชนและตำรวจตระเวนชายแดน ดังนั้น จึงตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้น ซึ่งขณะนี้มีแล้ว 700 โรง เป็นการพ่วงเรื่องสาธารณสุข การศึกษา และการดูแลความสงบเรียบร้อย

 
เด็กๆ มีอินเทอร์เน็ตใช้ในการค้นคว้าหาความรู้แล้ว

จะเห็นได้ว่า นอกจากความร่วมมือในครั้งนี้ จะส่งผลให้ชุมชนกับโรงเรียน และตำรวจตระเวนชายแดนใกล้ชิดกันมากขึ้นแล้ว การใช้เทคโนโลยีมาช่วยเรื่องการเรียนรู้ยังเป็นสิ่งที่จับต้องได้จริง ช่วยให้ผู้ที่ใช้เทคโนโลยีมองโลกได้กว้างขึ้น ช่วยให้การค้นคว้าหาความรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ มิใช่เพียงเกิดภายในห้องเรียนหรือห้องสมุดเพียงอย่างเดียว

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้