รู้จัก 'อินเทอร์เน็ต เกตเวย์'
นำเข้าเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2558 โดย จุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58577]  

รู้จัก 'อินเทอร์เน็ต เกตเวย์' จากซอยหน้าบ้านสู่ทางหลวงโลกไซเบอร์.....

 

รู้จัก 'อินเทอร์เน็ต เกตเวย์' จากซอยหน้าบ้านสู่ทางหลวงโลกไซเบอร์

 

 

 

 

 

อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนกับ อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ทางเชื่อมอินเทอร์เน็ตออกสู่ต่างประเทศ ทางหลวงด้านข้อมูลข่าวสาร เทียบข้อดี-ข้อเสีย หากไทยคิดจะทำ ซิงเกิล เกตเวย์ ที่กำลังถูกค้านอย่างหนักโดยชาวเน็ตและคอโซเชียลชาวไทย...

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทย ต่างให้ความสนใจและพูดถึงกันในวงกว้าง หนีไม่พ้นเรื่อง อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ อันเป็นแนวคิดที่กำลังมีการเสนอ เพื่อพยายามหาทางศึกษาความเป็นไปได้ และข้อดีข้อเสีย เพื่อควบคุมเนื้อหา และ เว็บไซต์ บนอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการทำงานด้านความมั่นคงของชาติ แต่ทว่าเรื่องนี้กลับกลายเป็นกระแสต่อต้านจากชาวเน็ต คอโซเชียล รวมทั้งเกมเมอร์ เป็นวงกว้าง

 
อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ประตู หรือ ทางเชื่อมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต


เนื่องจากมีความกังวลในเรื่องของความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัว สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ที่อาจจะถูกภาครัฐสอดแนม ดักเพื่อจัดเก็บ รวมทั้งความมั่นคง และเสถียรภาพทางการสื่อสาร ที่จะมั่นใจได้อย่างไรหากมีการทำ อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ เพื่อเชื่อมต่อไปต่างประเทศ แล้วจะไม่เกิดปัญหา เน็ตช้า เน็ตอืด

 
อินโฟกราฟิก เรื่องเกตเวย์ โดยไทยแวร์ดอทคอม


ต้องทำความเข้าใจ และรู้จักกับ อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ก่อนทางไทยแวร์ดอทคอม ทำอินโฟกราฟิกที่อธิบายให้เห็นภาพชัดเจน ว่า เกตเวย์ในที่นี้ มันคือ ประตู หรือ ทางเชื่อมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยไปสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ หรือ จุดที่วงจรอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เชื่อมต่อกับวงจรอินเทอร์เน็ตในประเทศอื่นๆ เพื่อที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น และบริการออนไลน์ต่างๆ เราเรียกชื่อของมันว่า อินเตอร์เนชั่นแนล อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ หรือ ไอไอจี (International Internet Gateway: IIG)

 
เกตเวย์ของไทยในปัจจุบัน มี IIG เชื่อมกับวงจรต่างประเทศหลายเส้นทาง


ในประเทศเราก็มีวงจรอินเทอร์เน็ต ที่เชื่อมจากคอมพิวเตอร์ตามบ้าน สมาร์ทโฟนที่เราถือผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) โดยไอเอสพีจะเป็นผู้นำทราฟฟิกข้อมูลในเครือข่ายไปเชื่อมต่อกับ IIG อีกที โดยปัจจุบัน ด้วยการเปิดเสรีทางด้านการแข่งขันโทรคมนาคม โดย กสทช.ทำให้ไอเอสพีแทบทุกราย มีใบอนุญาตประกอบกิจการ อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ นั้นแปลว่า คนไทยมีประตูทางออกไปยังวงจรต่างประเทศหลายทาง นี่ทำให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตของไทยดีขึ้น ค่าบริการถูกลง มีรูปแบบการให้บริการอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย

 
ซิงเกิล เกตเวย์ สามารถควบคุมดูแลได้จากจุดเดียว


การที่มีอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ จึงเหมือนมีด่านข้ามแดน แน่นอนว่าหากมีโจรผู้ร้าย หรือของผิดกฎหมายผ่านเข้ามา การดักจับ หรือ บล็อก ก็สามารถทำได้จากจุดนี้ โดยการบล็อกเว็บไซต์ หรือ ปิดกั้นเนื้อหา หากสามารถมอนิเตอร์ และปิดกั้นตั้งแต่อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ก็ย่อมที่จะทำให้สามารถจัดการสิ่งไม่เหมาะสม หรือ เว็บไซต์ผิดกฎหมายต่างๆ ไปได้ แต่ในเมื่อประเทศไทย มีอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ อยู่หลายทางการจัดการดูแลจึงทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาของการทำ อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ เพื่อรวมทุกช่องทางออก ให้มาอยู่ที่จุดเดียว เหมือนกับที่เราเคยทำกันสมัยที่ยังไม่มีการเปิดเสรีโทรคมนาคม ที่ ณ ขณะนั้น อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ เป็นของ กสท โทรคมนาคม

 
ซิงเกิล เกตเวย์ สามารถควบคุมดูแลได้จากจุดเดียว

ถ้าเปรียบกับบ้าน เกตเวย์ ที่ใช้กัน ณ ขณะนี้ คือ การที่มีถนนหลายสายตัดผ่านหมู่บ้าน ที่สามารถออกทางไหนก็ได้ การจราจรไม่ติดขัด เพราะถนนกว้างออกได้หลายเส้นทาง หากมีเส้นใดเส้นหนึ่งใช้การไม่ได้ ก็เปลี่ยนไปใช้อีกเส้นหนึ่งได้ แต่การทำ อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ คือ ทั้งประเทศเรามีประตูทางออกประตูเดียว การดูแลความปลอดภัยหนาแน่น รัดกุม แต่รถติด วิ่งเร็วไม่ได้ หากทางเสียหาย ลิงค์ขาดอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศจะเป็นอัมพาต หรือ เน็ตล่มทั้งประเทศได้

 
ข้อดี และข้อเสีย


อย่างไรก็ดี คนในวงการเว็บไซต์ ธุรกิจออนไลน์ ผู้ดูแลระบบ และ กลุ่มเว็บโฮสติ้งก็ไม่ได้เห็นด้วยกับเรื่อง อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ เนื่องด้วยข้อเสียที่มากกว่าและไม่คุ้มกับการที่จะทำ หากต้องแลกมาด้วยโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก ล่าช้า และอาจจะไม่ได้แก้ปัญหาตรงจุดที่ทางรัฐบาลตั้งใจ อย่างที่ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นทางไทยรัฐทีวี ใน Talk ประเด็นร้อน "ซิงเกิล เกตเวย์"

 
 
 
 

สิ่งที่คาดหวังจากภาครัฐจากนี้ คงเป็นการสร้างความเข้าใจ และการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เชื่อว่าทุกอย่างมาจากเจตนาที่ดี และเรื่องใหญ่แบบนี้คงต้องฟังความเห็นรอบด้าน และบนโลกไอทียังมีโซลูชั่น อีกมากมายเพื่อมาบริหารจัดการ และเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการเลือกหยิบมาใช้อย่างถูกต้องหรือไม่เท่านั้น.

รู้จัก 'อินเทอร์เน็ต เกตเวย์' จากซอยหน้าบ้านสู่ทางหลวงโลกไซเบอร์

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 2 ต.ค. 2558 07:10
5,993 ครั้ง


อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนกับ อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ทางเชื่อมอินเทอร์เน็ตออกสู่ต่างประเทศ ทางหลวงด้านข้อมูลข่าวสาร เทียบข้อดี-ข้อเสีย หากไทยคิดจะทำ ซิงเกิล เกตเวย์ ที่กำลังถูกค้านอย่างหนักโดยชาวเน็ตและคอโซเชียลชาวไทย...

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทย ต่างให้ความสนใจและพูดถึงกันในวงกว้าง หนีไม่พ้นเรื่อง อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ อันเป็นแนวคิดที่กำลังมีการเสนอ เพื่อพยายามหาทางศึกษาความเป็นไปได้ และข้อดีข้อเสีย เพื่อควบคุมเนื้อหา และ เว็บไซต์ บนอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการทำงานด้านความมั่นคงของชาติ แต่ทว่าเรื่องนี้กลับกลายเป็นกระแสต่อต้านจากชาวเน็ต คอโซเชียล รวมทั้งเกมเมอร์ เป็นวงกว้าง

 
อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ประตู หรือ ทางเชื่อมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต


เนื่องจากมีความกังวลในเรื่องของความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัว สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ที่อาจจะถูกภาครัฐสอดแนม ดักเพื่อจัดเก็บ รวมทั้งความมั่นคง และเสถียรภาพทางการสื่อสาร ที่จะมั่นใจได้อย่างไรหากมีการทำ อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ เพื่อเชื่อมต่อไปต่างประเทศ แล้วจะไม่เกิดปัญหา เน็ตช้า เน็ตอืด

 
อินโฟกราฟิก เรื่องเกตเวย์ โดยไทยแวร์ดอทคอม


ต้องทำความเข้าใจ และรู้จักกับ อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ก่อนทางไทยแวร์ดอทคอม ทำอินโฟกราฟิกที่อธิบายให้เห็นภาพชัดเจน ว่า เกตเวย์ในที่นี้ มันคือ ประตู หรือ ทางเชื่อมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยไปสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ หรือ จุดที่วงจรอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เชื่อมต่อกับวงจรอินเทอร์เน็ตในประเทศอื่นๆ เพื่อที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น และบริการออนไลน์ต่างๆ เราเรียกชื่อของมันว่า อินเตอร์เนชั่นแนล อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ หรือ ไอไอจี (International Internet Gateway: IIG)

 
เกตเวย์ของไทยในปัจจุบัน มี IIG เชื่อมกับวงจรต่างประเทศหลายเส้นทาง


ในประเทศเราก็มีวงจรอินเทอร์เน็ต ที่เชื่อมจากคอมพิวเตอร์ตามบ้าน สมาร์ทโฟนที่เราถือผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) โดยไอเอสพีจะเป็นผู้นำทราฟฟิกข้อมูลในเครือข่ายไปเชื่อมต่อกับ IIG อีกที โดยปัจจุบัน ด้วยการเปิดเสรีทางด้านการแข่งขันโทรคมนาคม โดย กสทช.ทำให้ไอเอสพีแทบทุกราย มีใบอนุญาตประกอบกิจการ อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ นั้นแปลว่า คนไทยมีประตูทางออกไปยังวงจรต่างประเทศหลายทาง นี่ทำให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตของไทยดีขึ้น ค่าบริการถูกลง มีรูปแบบการให้บริการอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย

 
ซิงเกิล เกตเวย์ สามารถควบคุมดูแลได้จากจุดเดียว


การที่มีอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ จึงเหมือนมีด่านข้ามแดน แน่นอนว่าหากมีโจรผู้ร้าย หรือของผิดกฎหมายผ่านเข้ามา การดักจับ หรือ บล็อก ก็สามารถทำได้จากจุดนี้ โดยการบล็อกเว็บไซต์ หรือ ปิดกั้นเนื้อหา หากสามารถมอนิเตอร์ และปิดกั้นตั้งแต่อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ก็ย่อมที่จะทำให้สามารถจัดการสิ่งไม่เหมาะสม หรือ เว็บไซต์ผิดกฎหมายต่างๆ ไปได้ แต่ในเมื่อประเทศไทย มีอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ อยู่หลายทางการจัดการดูแลจึงทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาของการทำ อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ เพื่อรวมทุกช่องทางออก ให้มาอยู่ที่จุดเดียว เหมือนกับที่เราเคยทำกันสมัยที่ยังไม่มีการเปิดเสรีโทรคมนาคม ที่ ณ ขณะนั้น อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ เป็นของ กสท โทรคมนาคม

 
ซิงเกิล เกตเวย์ สามารถควบคุมดูแลได้จากจุดเดียว

ถ้าเปรียบกับบ้าน เกตเวย์ ที่ใช้กัน ณ ขณะนี้ คือ การที่มีถนนหลายสายตัดผ่านหมู่บ้าน ที่สามารถออกทางไหนก็ได้ การจราจรไม่ติดขัด เพราะถนนกว้างออกได้หลายเส้นทาง หากมีเส้นใดเส้นหนึ่งใช้การไม่ได้ ก็เปลี่ยนไปใช้อีกเส้นหนึ่งได้ แต่การทำ อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ คือ ทั้งประเทศเรามีประตูทางออกประตูเดียว การดูแลความปลอดภัยหนาแน่น รัดกุม แต่รถติด วิ่งเร็วไม่ได้ หากทางเสียหาย ลิงค์ขาดอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศจะเป็นอัมพาต หรือ เน็ตล่มทั้งประเทศได้

 
ข้อดี และข้อเสีย


อย่างไรก็ดี คนในวงการเว็บไซต์ ธุรกิจออนไลน์ ผู้ดูแลระบบ และ กลุ่มเว็บโฮสติ้งก็ไม่ได้เห็นด้วยกับเรื่อง อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ เนื่องด้วยข้อเสียที่มากกว่าและไม่คุ้มกับการที่จะทำ หากต้องแลกมาด้วยโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก ล่าช้า และอาจจะไม่ได้แก้ปัญหาตรงจุดที่ทางรัฐบาลตั้งใจ อย่างที่ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นทางไทยรัฐทีวี ใน Talk ประเด็นร้อน "ซิงเกิล เกตเวย์"

 
 
 
 

สิ่งที่คาดหวังจากภาครัฐจากนี้ คงเป็นการสร้างความเข้าใจ และการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เชื่อว่าทุกอย่างมาจากเจตนาที่ดี และเรื่องใหญ่แบบนี้คงต้องฟังความเห็นรอบด้าน และบนโลกไอทียังมีโซลูชั่น อีกมากมายเพื่อมาบริหารจัดการ และเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการเลือกหยิบมาใช้อย่างถูกต้องหรือไม่เท่านั้น.

รู้จัก 'อินเทอร์เน็ต เกตเวย์' จากซอยหน้าบ้านสู่ทางหลวงโลกไซเบอร์

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 2 ต.ค. 2558 07:10
5,993 ครั้ง


อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนกับ อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ทางเชื่อมอินเทอร์เน็ตออกสู่ต่างประเทศ ทางหลวงด้านข้อมูลข่าวสาร เทียบข้อดี-ข้อเสีย หากไทยคิดจะทำ ซิงเกิล เกตเวย์ ที่กำลังถูกค้านอย่างหนักโดยชาวเน็ตและคอโซเชียลชาวไทย...

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทย ต่างให้ความสนใจและพูดถึงกันในวงกว้าง หนีไม่พ้นเรื่อง อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ อันเป็นแนวคิดที่กำลังมีการเสนอ เพื่อพยายามหาทางศึกษาความเป็นไปได้ และข้อดีข้อเสีย เพื่อควบคุมเนื้อหา และ เว็บไซต์ บนอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการทำงานด้านความมั่นคงของชาติ แต่ทว่าเรื่องนี้กลับกลายเป็นกระแสต่อต้านจากชาวเน็ต คอโซเชียล รวมทั้งเกมเมอร์ เป็นวงกว้าง

 
อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ประตู หรือ ทางเชื่อมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต


เนื่องจากมีความกังวลในเรื่องของความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัว สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ที่อาจจะถูกภาครัฐสอดแนม ดักเพื่อจัดเก็บ รวมทั้งความมั่นคง และเสถียรภาพทางการสื่อสาร ที่จะมั่นใจได้อย่างไรหากมีการทำ อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ เพื่อเชื่อมต่อไปต่างประเทศ แล้วจะไม่เกิดปัญหา เน็ตช้า เน็ตอืด

 
อินโฟกราฟิก เรื่องเกตเวย์ โดยไทยแวร์ดอทคอม


ต้องทำความเข้าใจ และรู้จักกับ อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ก่อนทางไทยแวร์ดอทคอม ทำอินโฟกราฟิกที่อธิบายให้เห็นภาพชัดเจน ว่า เกตเวย์ในที่นี้ มันคือ ประตู หรือ ทางเชื่อมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยไปสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ หรือ จุดที่วงจรอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เชื่อมต่อกับวงจรอินเทอร์เน็ตในประเทศอื่นๆ เพื่อที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น และบริการออนไลน์ต่างๆ เราเรียกชื่อของมันว่า อินเตอร์เนชั่นแนล อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ หรือ ไอไอจี (International Internet Gateway: IIG)

 
เกตเวย์ของไทยในปัจจุบัน มี IIG เชื่อมกับวงจรต่างประเทศหลายเส้นทาง


ในประเทศเราก็มีวงจรอินเทอร์เน็ต ที่เชื่อมจากคอมพิวเตอร์ตามบ้าน สมาร์ทโฟนที่เราถือผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) โดยไอเอสพีจะเป็นผู้นำทราฟฟิกข้อมูลในเครือข่ายไปเชื่อมต่อกับ IIG อีกที โดยปัจจุบัน ด้วยการเปิดเสรีทางด้านการแข่งขันโทรคมนาคม โดย กสทช.ทำให้ไอเอสพีแทบทุกราย มีใบอนุญาตประกอบกิจการ อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ นั้นแปลว่า คนไทยมีประตูทางออกไปยังวงจรต่างประเทศหลายทาง นี่ทำให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตของไทยดีขึ้น ค่าบริการถูกลง มีรูปแบบการให้บริการอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย

 
ซิงเกิล เกตเวย์ สามารถควบคุมดูแลได้จากจุดเดียว


การที่มีอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ จึงเหมือนมีด่านข้ามแดน แน่นอนว่าหากมีโจรผู้ร้าย หรือของผิดกฎหมายผ่านเข้ามา การดักจับ หรือ บล็อก ก็สามารถทำได้จากจุดนี้ โดยการบล็อกเว็บไซต์ หรือ ปิดกั้นเนื้อหา หากสามารถมอนิเตอร์ และปิดกั้นตั้งแต่อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ก็ย่อมที่จะทำให้สามารถจัดการสิ่งไม่เหมาะสม หรือ เว็บไซต์ผิดกฎหมายต่างๆ ไปได้ แต่ในเมื่อประเทศไทย มีอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ อยู่หลายทางการจัดการดูแลจึงทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาของการทำ อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ เพื่อรวมทุกช่องทางออก ให้มาอยู่ที่จุดเดียว เหมือนกับที่เราเคยทำกันสมัยที่ยังไม่มีการเปิดเสรีโทรคมนาคม ที่ ณ ขณะนั้น อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ เป็นของ กสท โทรคมนาคม

 
ซิงเกิล เกตเวย์ สามารถควบคุมดูแลได้จากจุดเดียว

ถ้าเปรียบกับบ้าน เกตเวย์ ที่ใช้กัน ณ ขณะนี้ คือ การที่มีถนนหลายสายตัดผ่านหมู่บ้าน ที่สามารถออกทางไหนก็ได้ การจราจรไม่ติดขัด เพราะถนนกว้างออกได้หลายเส้นทาง หากมีเส้นใดเส้นหนึ่งใช้การไม่ได้ ก็เปลี่ยนไปใช้อีกเส้นหนึ่งได้ แต่การทำ อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ คือ ทั้งประเทศเรามีประตูทางออกประตูเดียว การดูแลความปลอดภัยหนาแน่น รัดกุม แต่รถติด วิ่งเร็วไม่ได้ หากทางเสียหาย ลิงค์ขาดอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศจะเป็นอัมพาต หรือ เน็ตล่มทั้งประเทศได้

 
ข้อดี และข้อเสีย


อย่างไรก็ดี คนในวงการเว็บไซต์ ธุรกิจออนไลน์ ผู้ดูแลระบบ และ กลุ่มเว็บโฮสติ้งก็ไม่ได้เห็นด้วยกับเรื่อง อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ เนื่องด้วยข้อเสียที่มากกว่าและไม่คุ้มกับการที่จะทำ หากต้องแลกมาด้วยโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก ล่าช้า และอาจจะไม่ได้แก้ปัญหาตรงจุดที่ทางรัฐบาลตั้งใจ อย่างที่ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นทางไทยรัฐทีวี ใน Talk ประเด็นร้อน "ซิงเกิล เกตเวย์"

 
 
 
 

สิ่งที่คาดหวังจากภาครัฐจากนี้ คงเป็นการสร้างความเข้าใจ และการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เชื่อว่าทุกอย่างมาจากเจตนาที่ดี และเรื่องใหญ่แบบนี้คงต้องฟังความเห็นรอบด้าน และบนโลกไอทียังมีโซลูชั่น อีกมากมายเพื่อมาบริหารจัดการ และเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการเลือกหยิบมาใช้อย่างถูกต้องหรือไม่เท่านั้น.

รู้จัก 'อินเทอร์เน็ต เกตเวย์' จากซอยหน้าบ้านสู่ทางหลวงโลกไซเบอร์

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 2 ต.ค. 2558 07:10
5,993 ครั้ง


อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนกับ อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ทางเชื่อมอินเทอร์เน็ตออกสู่ต่างประเทศ ทางหลวงด้านข้อมูลข่าวสาร เทียบข้อดี-ข้อเสีย หากไทยคิดจะทำ ซิงเกิล เกตเวย์ ที่กำลังถูกค้านอย่างหนักโดยชาวเน็ตและคอโซเชียลชาวไทย...

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทย ต่างให้ความสนใจและพูดถึงกันในวงกว้าง หนีไม่พ้นเรื่อง อินเทอร์เน็ต ซิงเกิล เกตเวย์ อันเป็นแนวคิดที่กำลังมีการเสนอ เพื่อพยายามหาทางศึกษาความเป็นไปได้ และ

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้