ถอดบทเรียนสิงคโปร์อัพเกรดการศึกษาไทย
นำเข้าเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2556 โดย นายจุฬา ศรีบุตตะ
อ่าน [58577]  

.....

 

ผลการจัดอันดับคุณภาพการศึกษานานาชาติ แทบทุกสำนักการันตีให้สาธารณรัฐสิงคโปร์ ครองแชมป์อันดับ 1 ด้านคุณภาพการศึกษาในอาเซียน”

“ผลการจัดอันดับคุณภาพการศึกษานานาชาติ แทบทุกสำนักการันตีให้สาธารณรัฐสิงคโปร์ ครองแชมป์อันดับ 1 ด้านคุณภาพการศึกษาในอาเซียน” เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ได้นำทีมผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิ การ (ศธ.) บินลัดฟ้าดูระบบการจัดการศึกษาที่ทำให้สิงคโปร์เป็นเลิศในภูมิภาคนี้ ทั้งที่มีพื้นที่ทั้งประเทศเพียง 699.4 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณเกาะภูเก็ตของไทย พร้อมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานความร่วมมือด้านการศึกษา “ไทย-สิงคโปร์”

 

ทริปนี้ คณะผู้บริหาร ศธ.ที่ประกอบด้วย ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. นายธเนศวร์ เจริญเมือง ที่ปรึกษา รมว.ศธ. ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) น.ส.จุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัด ศธ. และ นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้ดูงานของสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ หรือ เอ็นไออี (National Institute of Education : NIE) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยด้านการศึกษาและการฝึกหัดครู โดยรัฐบาลสิงคโปร์ ถือว่า “ครู คือ หัวใจของการศึกษา” และทำให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ด้วยการส่งเสริมอาชีพครู ให้เป็นที่นิยมของสังคม มีเกียรติ ได้รับเงินเดือนสูงเท่าวิศวกร และมีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ ทำให้สามารถคั้นหัวกะทิ 30% แรกของประเทศมาสู่วิชาชีพนี้ได้ โดยว่าที่ครูทุกคนต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาครูจากเอ็นไออี เป็นเวลา 1 ปี และเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วก็ต้องเข้ารับการประเมินและพัฒนาทุกปี หากไม่ผ่านการประเมินในครั้งที่ 3 ก็จะถูกให้ออกจากการเป็นครู 

 

ระบบการศึกษาของสิงคโปร์ กำหนดให้เด็กทุกคนต้องอยู่ในระบบโรงเรียนอย่างต่ำ 10 ปี แบ่งเป็นระดับประถมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษา 4 ปี โดยเป็นการศึกษาภาคบังคับที่รัฐให้การอุดหนุนแบบให้เปล่า เด็ก ๆ จะต้องเรียนรู้ 2 ภาษาควบคู่กันไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเลือกเรียนภาษาแม่ อีก 1 ภาษา คือ จีน (แมนดาริน) มาเลย์ หรือทมิฬ (อินเดีย) 

 

ระดับประถมศึกษาของที่นี่ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ประถมต้น ป.1-ป.4 และประถมปลาย ป.5-ป.6 ซึ่งในชั้นประถมปลายนี้ ถือเป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เพราะนักเรียนจะถูกแยกออกเป็น 3 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน เมื่อ จบ ป.6 ทุกคนต้องผ่านการทดสอบระดับชาติ โดยคะแนนผลการสอบจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา ที่มี 3 หลักสูตรให้เลือกตามความสามารถ ใช้เวลา 4-5 ปี หากเด็กสิงคโปร์ต้องการเรียนต่อมหาวิทยาลัยต้องสอบผ่านประกาศนียบัตร GCE (General Certificate of Education) ในระดับโอเลฟเวล คือ มีคะแนนถึงตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะเข้าศึกษาต่อในจูเนียร์คอลเลจ หรือเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งเป็นหลักสูตร 2 ปี ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย และต้องสอบเอเลฟเวล ให้ได้ในปีสุดท้ายจึงจะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ ส่วนผู้สนใจทางด้านช่างเทคนิค และพาณิชยการ สามารถเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยโพลีเทคนิค หลักสูตร  3 ปี และวิทยาลัยเทคนิค ภายใต้สถาบันการศึกษาทางเทคนิค หรือไอทีอี (Institute of Technical Education : ITE) ซึ่งผู้ที่ได้คะแนนดีจะสามารถเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยโพลีเทคนิค และมหาวิทยาลัยได้ ทั้งนี้ ผู้ที่จบมัธยมศึกษากว่า 65% จะได้เรียนสายอาชีพ 25% เรียนจูเนียร์คอลเลจ และ 10% เข้าสู่ตลาดแรงงานทันที 

 

รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษาสำหรับทุกคนมาก โดยเฉพาะการจัดการอาชีวศึกษาได้ทุ่มงบมหาศาลกว่าหมื่นล้านบาท ในการจัดอาคารสถานที่ และหาอุปกรณ์การเรียนการสอน ให้แก่ ไอทีอี คอลเลจ เซ็นทรัล (ITE College Central) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิทยาเขตของไอทีอีสำนักงานใหญ่ โดยวิทยาเขตแห่งนี้ เน้นการสอนอากาศยาน วิศวกรรมทางทะเล การออกแบบดีไซน์ และมัลติมีเดีย ซึ่งแม้จะเป็นการเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) แต่อุปกรณ์การเรียนบางส่วนที่เห็นก็ทำเอาคณะดูงานตะลึง เพราะได้ขนเครื่องบิน และเครื่องยนต์กลไกนานาชนิด มาให้เด็กเรียนรู้ 

 

การเดินทางเยือนสิงคโปร์ครั้งนี้ เสมา  1 จาตุรนต์ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จัดการศึกษากับ น.ส.อินดรานี ทรูรัย ราจาห์ รัฐมนตรีอาวุโสแห่งรัฐ กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ และพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า การจัดการศึกษาในสิงคโปร์ยังคงมีปัญหาคล้ายคลึงกับไทย ตรงที่ค่านิยมของสังคมและผู้ปกครอง ที่ต้องการให้ลูกหลานเรียนมหาวิทยาลัย ทั้ง ๆ ที่ประเทศต้องการกำลังช่างฝีมือ และเมื่อทำคะแนนได้ไม่ถึงเด็กหลายคนจึงใช้ช่องทางการเรียนสายอาชีพเป็นทางผ่าน เพื่อก้าวเข้าไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำงานแล้วบางส่วนก็อยากกลับมาเรียนในมหาวิทยาลัย เพราะถือว่ามีเกียรติ 

 

“จากปัญหาดังกล่าว นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ จึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้น เพื่อปรับหลักสูตรการเรียนการสอนของสิงคโปร์ทั้งระดับ ปวช. ปวส. และมหาวิทยาลัย ให้เคลื่อนย้ายหากันได้ เป็นแอพพลายเลิร์นนิ่ง คือ สามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้จริง หรือ เรียนแล้วปฏิบัติได้จริงไม่เน้นท่องจำ บนหลักคิดที่ว่า คนไม่จำเป็นต้องทำงานอาชีพเดียวตลอดชีวิต สามารถเปลี่ยนอาชีพไปในสายต่าง ๆ ได้ ” 

   ความร่วมมือด้านการศึกษา ไทย-สิงคโปร์ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีทั้งโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-สิงคโปร์ การแลกเปลี่ยนนักเรียน การอบรมครู ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ โดยเฉพาะในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้มีความร่วมมือกับไอทีอี โดยการสนับสนุนของมูลนิธิเทมาเส็ก ของสิงคโปร์มาตั้งแต่ปี 2552 และกำลังจะเริ่มความร่วมมือระยะ 3 โดยพัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาในรูปแบบ “ไอทีอีโมเดล” ขึ้นในประเทศไทย ซึ่ง ดร.ชัยพฤกษ์ บอกว่า ความร่วมมือก้าวต่อไปจะมีการแลกเปลี่ยนเด็กและครู ในจำนวนที่มากขึ้นและระยะเวลาที่นานขึ้น รวมทั้งทำวิทยาลัยที่สอนสไตล์ไอทีอี 3 แห่ง ได้แก่ สาขาเกี่ยวกับการทำงานในเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช สาขาเทคโนโลยีระบบเสียงและแสง ที่วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ และสาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์ ที่วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย 

 

ปิดทริปการดูงาน “เสมา 1 จาตุรนต์” ออกปากว่า จะนำประสบการณ์ของสิงคโปร์มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อคุณภาพศึกษาไทย ซึ่งต้องจับตากันต่อไปว่าการดูงานครั้งนี้จะช่วยปลุกไอเดียให้มีการพัฒนาการศึกษาไทย จนยกระดับผลการจัดอันดับการศึกษาไทยไม่ให้อยู่ในตำแหน่งเกือบรั้งท้ายในอาเซียนดั่งเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้หรือไม่.

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้