ร้อนฉ่า
นำเข้าเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2555 โดย ของเก่าโบราณ..ดีแล้วนะหรือท่านเห็นว่าเป็นเช่นไร
อ่าน [58505]  

ร้อนฉ่า 'รักวัวให้ผูกรักลูกให้กอด' เปลี่ยนสุภาษิต-ครอบครัวอบอุ่น? .....

ร้อนฉ่า 'รักวัวให้ผูกรักลูกให้กอด' เปลี่ยนสุภาษิต-ครอบครัวอบอุ่น?

 
 
Pic_287430

 

คณะกรรมการการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติ เตรียมเปลี่ยนสุภาษิต 'รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี' เป็น 'รักวัวให้ผูกรักลูกให้กอด' นำเข้าครม.เร็วๆ นี้ ด้านราชบัณฑิตยสถาน อาจารย์ด้านภาษา และนักเขียนรางวัลซีไรต์ค้านแหลก...

เมื่อเร็วๆ นี้ การประชุมคณะกรรมการการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติ ที่มี ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ทำหน้าที่ประธานการประชุม ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอให้เปลี่ยนสุภาษิตที่ว่า “รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี” มาเป็น “รักวัวให้ผูกรักลูกให้กอด” ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว โดยนายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ เลขาธิการสภาการศึกษา ให้เหตุผลว่า การเสนอเปลี่ยนภาษิตนั้น เพราะต้องการเปลี่ยนค่านิยมคำพังเพยนี้ใหม่ เพื่อเติมเต็มความอบอุ่นภายในครอบครัวให้มีมากขึ้น

ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตด้านภาษาไทย สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เป็นเรื่องประหลาด สุภาษิตคำพังเพยเป็นคำโบราณที่มีมานานแล้ว ไม่ควรเปลี่ยนแต่ควรสร้างคำใหม่ ซึ่งเห็นว่าของเก่าดีอยู่แล้ว และที่เด็กไทยปัจจุบันเสีย ส่วนตัวเห็นว่าเพราะผู้ใหญ่ไม่ตีเด็ก ส่วนการกอดก็สามารถทำได้แต่ไม่ใช่ทุกกรณี

ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตรระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสุภาษิตคงทำได้ยาก เพราะเป็นวิถีชีวิตคนดั้งเดิมจนมาถึงปัจจุบัน เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรเปลี่ยนสุภาษิตแต่ควรเปลี่ยนค่านิยมมากกว่า สำหรับการเลี้ยงลูกในยุคสมัยใหม่ การตีก็ยังใช้ได้ผลดีอยู่แต่ต้องมีเหตุผลว่าทำไมถึงตีลูก

ขณะที่ นายไพวรินทร์ ขาวงาม กวีซีไรต์ประจำปี 2538 ได้โพสต์เฟซบุ๊กชื่อ “ไพวรินทร์ ขาวงาม” แสดงความคิดเห็นถึงเรื่องดังกล่าวใจความว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” ผมว่าตรรกะคำเก่าเขาลงตัวดีแล้ว “ผูก” กับ “ตี” เป็นคำเข้ากลุ่มกัน ถ้าไม่ชอบคำนี้ เพราะเห็นว่าล้าสมัย ก็ไม่ต้องนำมาใช้ ยกคำหรือการกระทำเช่นนี้ให้ตกสมัยไป คิดคำใหม่ให้ทันสมัยไปเลย

“รักวัวให้ผูก รักลูกให้กอด" คำว่าผูกกับกอดมันผิดฝาผิดตัวชอบกล คนเราเลี้ยงลูกก็ต้องอุ้มลูกกอดลูกอยู่แล้ว นั่นมิใช่การการอบรมบ่มนิสัย ในวันวัยที่เปลี่ยนไป คำว่า ตี มิใช่การเฆี่ยนตีด้วยไม้เรียวอย่างเดียว หากยังหมายถึงการขนาบให้รู้กฎกติกามารยาท อบรมสั่งสอนว่ากล่าวตักเตือนในบาปบุญคุณโทษ การลงโทษเมื่อเขาทำผิด การให้อภัย การยกย่องเมื่อเขาทำดี คำพูดของพ่อแม่ก็อาจเป็นไม้เรียวชนิดหนึ่งที่อาจทั้งมีไว้ตี และมีวางไว้ในบ้านให้ลูกรู้ความเอาเอง

วันนี้ แม้ผมไม่คิดจะตีลูกด้วยไม้เรียว แต่ก็ต้องขนาบตีลูกด้วยวิธีการของผม การกอดนั้น ต้องกอดอยู่แล้วด้วยสัญชาตญาณความรัก (รักมากๆ กอดมากๆ เขาผลักออกอีกต่างหาก เพราะเขาเริ่มรำคาญเป็น)”

ทั้งนี้ คณะกรรมการการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติ มีมติเห็นชอบเปลี่ยนสุภาษิตที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” เป็น “รักวัวให้ผูก รักลูกให้กอด” เพื่อหวังเปลี่ยนค่านิยมสร้างความอบอุ่น และเพื่อใช้เป็นนโยบายยุทธศาสตร์การศึกษาปฐมวัยและดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 โดยจะมีการเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆ นี้.

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้