กลุ่มคนปิดทองหลังพระ บทความ โดย กริช มากกุญชร
นำเข้าเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2555 โดย นายศักดิ์ชัย แสนโยธา
อ่าน [58577]  

กลุ่มคนปิดทองหลังพระ บทความ โดย กริช มากกุญชร.....

บุคลากรบน “สพท.” กลุ่มคนปิดทองหลังพระ : “จุดคัน” ที่กระทรวงศึกษาธิการ “ลืมเกา”.......
ขณะที่ความก้าวหน้า ความมั่นคงในวิชาชีพของ “ครูและบุคลากรทางการศึกษา” เดินหน้าลิ่วๆทั้งในเรื่องเงินวิทยฐานะ เงินค่าตอบแทน เงินประจำตำแหน่ง ซึ่งยังความปลาบปลื้ม แช่มชื่นแจ่มใสและความมั่นคงให้

แก่ “คนเป็นครู” ทั้งแผ่นดิน
ตำแหน่ง “ครู” ตาม

กฎหมายก็คือ ครูผู้สอน, ผู้อำนวยการ-รองผอ.โรงเรียน, ผอ.-รองผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ส่วนบุคลากรทางการศึกษาก็คือ บรรดาศึกษานิเทศก์ ซึ่งทั้งสองวิชาชีพนี้จะไต่ระดับวิทยฐานะสูงสุดจนถึงเชี่ยวชาญพิเศษ โดยได้รับค่าตอบแทนส่วนต่างเป็นทั้งเงินวิทยฐานะและเงินค่าตอบแทนรวมๆแล้วอีกหลายหมื่นบาท โดยไม่นับรวมเงินเดือนประจำ
นั่นคือ...ความมั่นคงในวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งว่ากันว่า เป็นผลอันเกิดจากวิธีคิดฐานรายได้ตอบแทนผู้ประกอบวิชาชีพครูที่สมเหตุสมผล น่าจะเชื่อมต่อกับการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพทางการศึกษาของประเทศโดยองค์รวม
แต่หากมองในมิติของการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเร่งรัดพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา ดูเหมือนว่า จะด้วยบทบาทและภารกิจแบบ “ปิดทองหลังพระ” พันธกิจแบบ “คิดไม่ดัง” จึงส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการและคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหรือก.ค.ศ. แม้กระทั่งสพฐ. ต้นสังกัดโดยตรง มองข้ามหรือลืมเลือน “คนทำงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา” ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ 225 สพท. ไปอย่างน่าประหวั่นพรั่นพรึงและปริวิตกต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาโดยพิจารณาจากประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพงานเป็นบริบทแห่งพื้นฐานการพิจารณา
ใครเลยจะรู้ว่า คนทำงานบนสำนักงานเขตพื้นที่นั้นมิใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญและก็ มิใช่บุคลากรทางการศึกษา...แบบ “เป็นครูก็ไม่ใช่ เป็นข้าราชการพลเรือนก็ไม่เชิง” ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นมีวิถีชีวิต ความก้าวหน้า ความมั่นคงในอนาคต ที่ค่อนข้างสะเปะสะปะ ไร้ทิศทาง ขาดความมั่นใจ ไม่มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ....
ทั้งๆที่เป็นหน่วยปฏิบัติภารกิจแทนกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ภูมิภาคและจังหวัด
หากพูดถึงเงินค่าตอบแทนที่แตกต่างจากครูและบุคลากรทางการศึกษาราวฟ้ากับดินก็จะดูเหมือนจะเป็นการเทียบเคียงและผูกพันกับผลประโยชน์ตามระบบคุณธรรม-คุณภาพมากเกินไป แต่หากพูดถึงภาระงานทางวิชาการ การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่โรงเรียนจนถึงในห้องเรียน ตั้งแต่ครูจนถึงนักการภารโรง ลักษณะภารกิจและพันธกิจที่ไม่แตกต่างจาก “โค้ชหรือเทรนเนอร์”ของครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาบนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวนกว่า 11,000 คน...จึงน่าที่จะเสริมกระบวนทัศน์และวิธีคิดของนักบริหารการศึกษามืออาชีพได้บ้างไม่มากก็น้อย
ประการสำคัญ...ภารกิจที่จำแนกออกเป็นสายพัฒนา สนับสนุนงานวิชาการของโรงเรียนให้เป็นกอบเป็นกำเป็นรูปธรรมไม่ว่าจะเป็นงานนโยบายและแผน งานพัฒนาบุคคล งานส่งเสริมการศึกษา งานส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน งานตรวจสอบภายใน งานอำนวยการ งานบริหารการเงินและสินทรัพย์...ซึ่งเกี่ยวพันกับการบริหารจัดการประสิทธิภาพสถานศึกษา หน่วยงานการศึกษา ผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษาไปจนถึงตัวเด็กนักเรียน
หากขาดบุคลากรทางการศึกษา “คนปฏิบัติงานบนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา” ที่มีประสิทธิภาพ มีศักยภาพ มีวิสัยทัศน์ในเชิงพัฒนางานวิชาการ ผ่านประสบการณ์การการปฏิบัติงาน การอบรม การสร้างสรรค์และพัฒนางานมาทั้งชีวิตราชการการศึกษา...จิ๊กซอว์ที่ขานรับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งต่อไปยังโรงเรียนก็คงจะล้มครืน....
วันนี้...ในขณะที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีรมว.ศึกษาธิการเป็นประธานมีการพูดคุยและประชุมกันทุกเดือน จะมีการถามไถ่พูดคุยถึงครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับทุกครั้งแบบครั้งแล้วครั้งเล่า ทว่า...บุคลากรทางการศึกษาที่ทำงานอยู่บนสำนักงาน จะมีใครจะรู้ไหมว่า...วันนี้ จำนวนอัตรากำลังที่ลดน้อยลง กรอบอัตรากำลังที่ค้างเติ่งมานานกว่า 1 ปี เพดานเงินค่าตอบแทนหรือเงินเดือนที่ไม่เป็นธรรม ทำหน้าที่สนองนโยบายกระทรวงศึกษาธิการแบบ “วัวงาน” ไม่มีปากไม่มีเสียง...จึงน่าจะเป็นอีกบริบทหนึ่งที่รมว.ศึกษาธิการหรือประธานก.ค.ศ.น่าจะถามไถ่หรือหันไปดูดำดูดีสารทุกข์สุกดิบบ้าง
ก่อนที่จะคุณภาพการศึกษาจะพังพาบล้าหลังประเทศในกลุ่มอาเซียนหรือปล่อยให้หน่วยปฏิบัติอยู่แบบหลังพิงฝาเสียก่อน แล้วถึงจะคิดได้ว่ามีข้าราชการ “กลุ่มคนชายขอบในชายคากระทรวงศึกษาธิการ” อยู่กลุ่มหนึ่งที่ “ก้มหัวเป็นวัวงาน” ทำงานวิชาการให้กับการศึกษาชาติ เคียงคู่กับครูและศึกษานิเทศก์มานานกว่าทศวรรษบนรอยต่อและการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยก่อน-หลังปฏิรูปการศึกษาและได้รับผลกระทบจากระบบราชการที่ปฏิรูปการศึกษา-ปฏิวัติโครงสร้าง หากแต่การเอาใจใส่ดูดำดูดีด้านขวัญ-กำลังใจกลับมิได้รับการเยียวยา-ถามไถ่หรือการทบทวนจาก “บอร์ดก.ค.ศ.”หรือหน่วยบังคับบัญชาแม้แต่เพียงเสี้ยวกระผีกลิ้น
บางครั้งการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการศึกษาชาติให้ยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้วยการ “ดูดำดูดี” ผู้คนที่ทำงานบนสำนักงานเขตพื้นที่ นักวิชาการ-นักพัฒนาการศึกษาใน “ขอบเขต” ให้มีอนาคตชัดเจน มีกรอบอัตรากำลังเป็นรูปเป็นร่างแจ่มใส มีไลน์อนาคตสดใสแจ่มแจ้ง...
ก็น่าจะเป็นอีกช้อยส์หนึ่งของกระบวนการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาแบบ “เกาถูกที่คัน”ก็เป็นได้....! 
Tags:
• บทความ โดย กริช มากกุญชร

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้