ใส่ฉนวนกันความร้อนที่ฝ้าเพดาน เปลี่ยนกระจกเป็นกระจก Low-E ฯลฯ
นำเข้าเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2555 โดย pop
อ่าน [58523]  

ใส่ฉนวนกันความร้อนที่ฝ้าเพดาน เปลี่ยนกระจกเป็นกระจก Low-E ฯลฯ .....

Pic_281394

 

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง ศึกษาวิธีการออกแบบอาคารโรงพยาบาลแนวใหม่ ดึงตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็นต้นแบบอาคาร เสนอไอเดียจากความต้องการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ให้สถาปนิกและผู้ออกแบบอาคาร ทราบถึงความสิ้นเปลืองพลังงานของอาคารควบคู่ไปกับกระบวนการออกแบบได้ โดยยังไม่ต้องสร้างอาคารจริง...

นายณัฐสิทธิ์ สมบูรณ์วิทย์ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาสหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้วิจัยและเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบสถานบริการสุขภาพภาครัฐ แบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เล่าถึงปัญหาที่ทำให้ก่อให้เกิดการต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้ว่า ในปัจจุบัน ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อประชาชนคนไทยทุกภาคส่วน ทั้งในเรื่องของสุขภาพ วิกฤติราคาพลังงาน ฯลฯ โดยพบว่าหนึ่งในปัญหาของภาวะโลกร้อนนั้น เกิดจากการใช้พลังงานภาคอาคาร ซึ่งนับเป็นปริมาณสูงถึงหนึ่งในสี่ของปริมาณการใช้พลังงานรวมของประเทศ โดยหนึ่งในอาคารเหล่านั้น คือการใช้พลังงานของอาคารสถานบริการสุขภาพภาครัฐ เช่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย ฯลฯ ทั้งการใช้พลังงานในกระบวนการก่อสร้าง และการใช้พลังงานขณะใช้งานอาคาร

ทั้งนี้ ทำให้ตนเองเกิดแนวความคิด ที่ต้องการจะศึกษากระบวนการออกแบบสถานบริการสุขภาพของภาครัฐแบบบูรณาการ (Integrated Building Design: IBD) ซึ่งมีความแตกต่างกับวิธีปฏิบัติที่มีมาแต่เดิม ซึ่ง IBD ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) ของการออกแบบอาคาร โดยเป็นการบูรณาการอย่างเป็นสหสาขาวิชาชีพ ให้เข้ามาร่วมพัฒนาแบบก่อสร้างด้วยกัน ในเวลาเดียวกัน และใช้ชุดข้อมูลชุดเดียวกัน รวมถึงการวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้านพลังงานอาคารอีกด้วย

นายณัฐสิทธิ์ บอกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับกระบวนการออกแบบอาคาร ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ผู้ออกแบบอาคารจะไม่สามารถทราบได้ว่าอาคารที่ออกแบบไปประหยัดพลังงานหรือไม่ ใช้พลังงานสิ้นเปลืองไปมากน้อยเพียงใดหรือเมื่อเปลี่ยนองค์ประกอบอาคารบางอย่างแล้วจะประหยัดพลังงานได้เท่าใด ฯลฯ ซึ่งกว่าจะทราบนั้นก็ต่อเมื่อต้องสร้างอาคารจนเสร็จ เกิดการใช้อาคารจริง มีการจ่ายค่าไฟฟ้าจริง และหากมีความต้องการที่จะดัดแปลงหรือปรับปรุงโครงสร้าง ก็จะเกิดความยากลำบากมากขึ้น เพราะมีการใช้งานตัวอาคารไปแล้ว มีทั้งคน กิจกรรม อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ฯลฯ ทำให้ต้องใช้งบประมาณในการรื้อถอนและปรับปรุงเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมาก

ดังนั้น การทำอาคารให้มีสมรรถนะและประสิทธิภาพด้านพลังงานสูงสุด โดยลงทุนต่ำที่สุดนั้น จะต้องกระทำตั้งแต่ในขั้นตอนการออกแบบอาคาร ถ้าผู้ออกแบบอาคารสามารถทราบถึงปริมาณการใช้พลังงานของอาคารที่ตนกำลังออกแบบอยู่นั้นว่าใช้พลังงานเท่าใด เมื่อปรับปรุงอาคาร เช่น ใส่ฉนวนกันความร้อนที่ฝ้าเพดาน เปลี่ยนกระจกเป็นกระจก Low-E ฯลฯ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ปัจจัยของสถานที่ตั้งอาคาร (Local factors) ให้เกิดประโยชน์ เช่น ทิศทางการวางอาคารที่ส่งเสริมให้ใช้กระแสลมธรรมชาติในการระบายอากาศ ป้องกันแสงแดดที่มากเกินความต้องการในช่วงบ่าย ฯลฯ แล้วทราบได้ทันทีว่าจะสามารถประหยัดพลังงานไปได้กี่บาท โดยมิใช่การคาดเดานั้น จะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะสนับสนุนให้อาคารนั้นสามารถเป็นอาคารที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานได้ในอนาคต

นายณัฐสิทธิ์ กล่าวต่อว่า แต่ปัญหาสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือ ผู้ออกแบบอาคารโดยเฉพาะสถาปนิกนั้น จะประสบปัญหาในการใช้ระบบจำลองสมรรถนะพลังงานอาคาร (Building Energy Performance Simulation: BEPS) ซึ่งมีความซับซ้อน ใช้งานยาก และต้องการความรู้และทักษะเฉพาะทางในการใช้งานเป็นอย่างมาก การเชื่อมโยงเครื่องมือที่สถาปนิกใช้ในการออกแบบอยู่แล้ว ให้เข้ากับ BEPS ได้โดยตรง โดยไม่ต้องวุ่นวายกับตัวเลขด้านเทคนิคจำนวนมาก และสามารถทำให้สถาปนิกสามารถเห็นปริมาณการใช้พลังงานของอาคารที่ตนกำลังออกแบบอย่างไม่ซับซ้อน เช่น พลังงานรวมที่อาคารนี้จะใช้ต่อปีนั้นเป็นเท่าใด พลังงานที่ใช้ไปกับการปรับอากาศต่อปีเป็นเท่าใด ปรับปรุงแล้วลดไปเท่าใด เป็นต้น จะสนับสนุนการตัดสินใจ ควบคู่ไปกับการออกแบบของสถาปนิกได้อย่างสะดวก และรวดเร็วเป็นอย่างมาก

“การเลือกใช้เครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการบูรณาการของเครื่องมือหลายชนิด ได้แก่ Autodesk Revit Architecture ซึ่งเป็นระบบพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศ (BIM) Autodesk Ecotect และ Design Builder ซึ่งเป็นระบบจำลองสมรรถนะพลังงานอาคาร (BEPS) ที่มีความแตกต่างในวิธีการคำนวณค่าพลังงาน โดยใช้มาตรฐานภาษา gbXML ใน การส่งผ่านข้อมูลระหว่างระบบทั้งสอง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านพลังงานของอาคารกลุ่มตัวอย่าง คือแบบมาตรฐานอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน สำหรับโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับกลาง ขนาดพื้นที่ใช้สอย 557 ตารางเมตร โดยสร้างแบบจำลองสารสนเทศของอาคารกลุ่มตัวอย่างใน BIM เป็นอันดับแรก ได้เป็นแบบจำลองสารสนเทศต้นแบบ (Baseline Model) และจะส่งผ่านไปสู่ระบบ BEPS ทั้งสองโปรแกรม อย่างเป็นคู่ขนานเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของ BEPS ทั้ง สอง และเปลี่ยนทิศทางการวางอาคาร ด้วยการหมุนแบบจำลองจากศูนย์กลางอีกเจ็ดทิศ แบบจำลองทั้งแปดจะถูกตรวจวัดสมรรถนะด้านพลังงาน โดยพิจารณาจากปริมาณพลังงานที่จะต้องใช้ไปกับการทำความเย็นอาคารต่อปี”

นายณัฐสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ตนเองได้นำแบบจำลองสารสนเทศต้นแบบ มาปรับปรุงแบบอาคารเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านพลังงานอีก 2 วิธีการ คือปรับปรุงแบบอาคารโดยไม่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของอาคาร โดยเปลี่ยนชนิดวัสดุก่อสร้างให้มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวมที่ลดลง และปรับปรุงแบบอาคารโดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของอาคาร โดยมีการเปลี่ยนลักษณะหลังคา และเปลี่ยนชนิดวัสดุก่อสร้างและหลังคาให้มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวมที่ลดลง และให้ปรับระดับหลังคาให้มีช่องว่างบริเวณเหนือฝ้าเพดานถึงใต้โครงสร้างหลังคา เพื่อการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ และเพิ่มเติมอุปกรณ์กันแดดแก่แบบจำลองสารสนเทศ

ผลของการจำลองสมรรถนะพลังงานอาคารทั้งหมด จะถูกนำมาเปรียบเทียบกัน พบว่าการวางอาคารต้นแบบในทิศทางที่ต่างกันนั้น ส่งผลให้อาคารใช้พลังงานต่างกันแค่เพียงเล็กน้อย (0.051% - 0.55%) เนื่องจากอาคารต้นแบบนั้นเป็นอาคารชั้นเดียว ความร้อนส่วนใหญ่เกิดจากแสงอาทิตย์ส่งความร้อนโดยตรงสู่หลังคา หันอาคารไปทิศทางใดก็ไม่แตกต่างกันนัก การเปลี่ยนวัสดุก่อสร้างและองค์ประกอบอาคาร ส่งผลให้ประหยัดพลังงานอย่างมาก คือประหยัดได้มากกว่า 6% และ สุดท้ายการใช้หลังคาที่มีสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวมต่ำ ร่วมกับใช้การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติบริเวณใต้หลังคาซึ่งทำให้ประหยัดพลังงานได้มากกว่า 12%

ด้าน รศ.บุญสนอง รัตนสุนทรากุล คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมาก ถือเป็นงานวิจัยต้นแบบที่สถานบริการด้านสุขภาพต่างๆ สามารถนำกระบวนการดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบอาคารอื่นๆ เพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวนั้น ได้มีการนำไปเผยแพร่ในระดับนานาชาติในงาน ASEAN Conference on Environment-Behaviour Studies ที่ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมารา (Universiti Tedknologi MARA) ประเทศมาเลเซีย ร่วมกันเป็นเจ้าภาพในการจัดงานดังกล่าวขึ้น เมื่อวันที่ 16-18 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ โดยงานดังกล่าว เป็นการเผยแพร่ผลงานทางสถาปัตยกรรมของหลายประเทศเกี่ยวกับเส้นทางของชีวิต ในแง่มุมของสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ซึ่งนอกจากการออกแบบสถานบริการด้านสุขภาพที่ช่วยลดพลังงาน ยังมีผลงานอื่นๆ ของคณะที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมร่วมแสดงผลงานภายในงาน อาทิ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ การออกแบบสภาพแวดล้อมและรีสอร์ทในประเทศไทยที่มีผลต่อความนิยมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นต้น

ทั้งนี้ งานที่ผ่านมาถือว่าได้รับความสนใจจากนานาชาติเป็นจำนวนมาก และทางคณะเองก็จะพยายามสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับนานาชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เห็นแนวทางในการพัฒนาทักษะ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เพื่อตอกย้ำสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทยด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ อันมีประวัติศาสตร์และศิษฐ์เก่าที่สร้างชื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวนมาก.

 

 
กำลังแสดงหน้าที่ 1 จากทั้งหมด 0 หน้า [หน้าถัดไปคือหน้าที่ 2] 1
 

 
เงื่อนไขแสดงความคิดเห็น
1. ทุกท่านมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่กล่าวพาดพิง และไม่สร้างความแตกแยก
2. ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
3. ความคิดเห็นเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมาย และไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับคณะผู้จัดทำเว็บไซต์

ชื่อ :

อีเมล์ :

ความคิดเห็นของคุณ :
                                  

              * ใส่รหัสจากภาพที่เห็นลงในช่องด้านล่าง และใส่คำตอบจากคำถาม เพื่อยืนยันการส่งความเห็น
  และสำลีสีอะไร
    

          ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการแสดงความคิดเห็นโดยสาธารณชน ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าชื่อผู้เขียนที่้เห็นคือชื่อจริง และข้อความที่เห็นเป็นความจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ boyoty999@google.com  เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้